แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการมาท่องเที่ยววัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

Main Article Content

สุชานันท์ สวนจักร์
ณัฐพันธ์ ปัญญโรจน์
รวินท์นิภา กุณแก้ว
สราวุฒิ บุญมี
ภัทริกา กาศอุดม

บทคัดย่อ

การศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการมาท่องเที่ยววัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการมาท่องเที่ยววัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยววัดภูมินทร์จำนวน 400 คน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยววัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา โดยส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง แรงจูงใจในการมาท่องเที่ยววัดภูมินทร์ของนักท่องเที่ยว คือ พึงพอใจชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการให้บริการ ซึ่งความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก และจากการวิเคราะห์พบว่าได้มีการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวได้ดีขึ้น เช่น มีการจัดบริการด้านสิ่งแวดล้อมภายในแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสะอาด และเป็นระเบียบ มีการทำแผ่นป้าย/สัญลักษณ์ต่าง ๆ ชัดเจนเหมาะสม มีการจัดบริการห้องสุขาไว้อย่างสะอาดและเพียงพอ มีเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นผลให้เกิดแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในระดับมาก จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการมาท่องเที่ยววัดภูมินทร์ ทางหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนรวมทั้งหน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว ควรรักษาและควบคุมคุณภาพมาตรฐาน พร้อมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มคุณภาพที่มีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว นำไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวจังหวัดน่านต่อไปได้

Article Details

How to Cite
สวนจักร์ ส., ปัญญโรจน์ ณ., กุณแก้ว ร., บุญมี ส., & กาศอุดม ภ. (2024). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการมาท่องเที่ยววัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 12(2), 119–130. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/273848
บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). วัดภูมินทร์. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานสถิติการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2564, จาก www. nan.go.th/upload /1617260755.pdf.

จุฑารัตน์ เพ็ชรประคอง, ฐิติมา มากศรี, ชญานิษฐ์ จารุพันธ์, รัชดาภรณ์ เหล้นเฉื้อง, อรัญญา วงศ์พุฒ และอรจันทร์ ศิริโชติ. (2561). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารปาริชาต, 31(3), 178-184.

ทิพย์สุดา แฉ่งศิริ, สมบูรณ์ ศรีอนุรักษ์วงศ์

และประภัสสร วิเศษประภา. (2562). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวมีผลต่อความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวไต้หวันด้วยตัวเองของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหวิทยาลัยรามคำแหง.

เบญจมาศ ลาภจิตร. (2552). แรงจูงใจที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวโปแลนด์เลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว. (รายงานวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิวพร มีนาภา. (2561). ปัจจัยแรงจูงใจในการท่องเที่ยว และปัจจัยองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย

ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิวัช คงทอง. (2565). แรงจูงใจในการท่องเที่ยว และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย: กรณีศึกษาเกาะเต่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ศุภร เสรีรัตน์. (2544). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ อาร์ บิซิเนส เพรส.

สุพรรณนา หัศภาค. (2545). ปัจจัยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศให้มาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุมาพร บุญเพชรแก้ว, อิสระพงษ์ พลธานี, กมลวรรณ อยู่คำ, ปลิดา รู้วัชรปกรณ์, ปิยะวรรณ มาก่อเกียรติ, ยูธิกา ด่านภู่วงศ์และอฑิติยา ตรึกดี. (2561). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนเกาะหมาก จังหวัดตราด. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 2686-2703.

Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York, NY: Harper & Row Publishers.

MGR Online. (2547). ธนบัตรใหม่-เก่า เล่าเรื่องวัด. สืบค้น 3 ธันวาคม 2564, จาก https://mgronline.com/travel/detail/9470000049916.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.