ประสิทธิภาพบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนากับการเสริมสร้างสุขภาพผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยเอดส์ : สมุนไพรและโภชนาการบำบัด

Authors

  • สามารถ ใจเตี้ย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • สิวลี รัตนปัญญา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • สมชาย แสนวงศ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ป้อก จังหวัดลำพูน

DOI:

https://doi.org/10.14456/rcmrj.2013.96129

Keywords:

บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น, ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา, การเสริมสร้างสจุขภาบพผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์, Folk Science Lesson plans, Lana Local wisdom, Promotion for HIV/AIDS patients

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่ป้อก ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 15 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นจำนวน2 บทเรียนได้แก่ สมุนไพรบำบัดลำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์และโภชนาการบำบัดลำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมิน วิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ร้อยละ 80/80 (E1/E2) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ด้วยการทดสอบค่า t แบบอิสระกัน (Independent t-test samples)

ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน (E1) และผลของการใช้บทเรียน (E2) เรื่องสมุนไพรบำบัดลำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ เท่ากับ 82.50/84.75 และ เรื่องโภชนาการบำบัดลำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์เท่ากับ 81,06/86.78โดยการศึกษานี้กำหนดประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ร้อยละ 80/80 (E1/E2) การเปรียบเทียบผลลัมฤทธบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นทั้ง 2 บทเรียน พบว่า ค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังทดลองใช้บทเรียนมืค่าสูงกว่าก่อนทดลองใช้บทเรียน อย่างมืนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (P-value =0.03 และ 0.04 ตามสำดับ) ในส่วนของความพึงพอใจ ผู้ติดเชื้อเอดส์มืความพึงพอใจโดยรวมต่อบทเรียนในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 2.62 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53) ทั้งนี้ประชาชนและผู้ติดเชื้อ และผู่้ป่วยเอดส์ได้เสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสร้างนโยบายเพื่อการพัฒนาพื้นที่ป่าและจัดพื้นที่เพื่อการปลูกสมุนไพรซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้านต่อไป

Efficiency of Folk Science Lesson Plans about Lana Local Wisdom and Health Promotion for HIV/AIDS Patient : Herbal and Nutrition Treatment

The purpose of this study was to efficiency assessment of folk Science Lesson plans which concerned for Lana Local wisdom and Health Promotion for HIV/AIDS patients.This Research for a total of 15 participants were sampling from HIV infected patients in the area of Mae Pok Health Promoting Hospital, District, Lamphun Province were participated. The 2 folk science lessons were the herbal treatment for HIV/AIDS and the knowledge of nutrition for HIV/AIDS patients. The folk Science Lesson plans prepared had efficiency of E1/E2 according to the set criteria of 80 / 80 and Independent t-test samples were used for data analysis.

The results showed that the herbal treatment for HIV/AIDS were 82.50/84.75 and the nutrition for HIV/AIDS patients were 81.06/86.78 .The efficiency gain on each lessons were specified at 80.00/80.00 percent (E1/E2). Comparison of flok science lesson the post-learning achievement score was higher than the pre-learning score (P-value = 0.03, 0.04). Moreover, the satisfaction of two lesson plans at a high level and also at the highest level for HIV patients.

In concluding, HIV/AIDS patients suggested that to create policies for the development of forest are as and planting herbs, which will affect the development of Local wisdom knowledge.

Downloads

How to Cite

ใจเตี้ย ส., รัตนปัญญา ส., & แสนวงศ์ ส. (2014). ประสิทธิภาพบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนากับการเสริมสร้างสุขภาพผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยเอดส์ : สมุนไพรและโภชนาการบำบัด. Community and Social Development Journal, 14(1), 57–65. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2013.96129

Issue

Section

บทความวิจัย (RESEARCH ARTICLE)