มานุษยวิทยาการท่องเที่ยว: กรอบแนวคิดและคุณูปการทางทฤษฎี Anthropology of tourism: A theoretical framework and its contributions

Main Article Content

ก้องสกล กวินรวีกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความนี้อภิปรายแนวทางการศึกษาสำคัญทางมานุษยวิทยาที่ใช้ในการวิพากษ์ปรากฏการณ์                การท่องเที่ยว ได้แก่  (1) หน้าที่ของการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อและพิธีกรรม (2) การท่องเที่ยวในฐานะจักรวรรดินิยม (3) การท่องเที่ยวและการนำเสนอภาพตัวแทนทางวัฒนธรรม และ (4) การท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ครอบคลุมในประเด็น พื้นที่ อัตลักษณ์ ปฏิสัมพันธ์ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือน ฯลฯ เนื่องจากนำเสนอผ่านมุมมองเชิงทฤษฎีที่แตกต่างกัน การให้ความสำคัญต่อประเด็นเหล่านี้ของแต่ละแนวทางการศึกษา จึงแตกต่างหลากหลาย แนวทางการศึกษาแรก ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ภายในของนักท่องเที่ยวแต่ละคนที่ได้รับการฟื้นคืนชีวิตโดยพร้อมเพรียงกัน ในขณะที่ แนวทางการศึกษาที่สอง สาม และสุดท้ายเน้นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือน ในประเด็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เหลื่อมล้ำ การช่วงชิงความหมายและการต่อรองทางวัฒนธรรม และปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในบริบททางสังคม ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประเด็นหัวใจสำคัญที่แทบไม่ถูกถกเถียงโดยนักวิชาการในแวดวงมานุษยวิทยา ยังคงเป็นปริศนาที่ท้าทายการศึกษาในอนาคต


Abstract


          This paper discusses seminal anthropological approaches to criticism of tourism phenomena –namely: (1) belief and ritual functions of tourism, (2) tourism as imperialism,      (3) tourism and cultural representation, and (4) ecotourism which revolve around space, identity, interaction, and power relations between hosts and guests etc. Through multifocal theoretical lenses, each approach’s concentration on these themes is widely varied. The first emphasizes inner experiences of individual traveller revitalized en masse while, respectively, between hosts and guests, the second, the third and the final bring into focus inequitable power relations, cultural negotiation and contestation, and reciprocal interaction in social context. Nevertheless, the impact of tourism on tourists, a crucial theme left virtually unexplored by most scholars in anthropological academia, is still enigmatic but challenging for future study.

Article Details

บท
บทความวิชาการ