วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

นรุตต์ ทรงฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือของประเทศไทย และ (3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือของประเทศไทยโดยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ประชากร คือข้าราชการครู 76,906 คน จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ จำนวน 6,410 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู 1,810 คน จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ จำนวน 362 แห่ง ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยสุ่มโรงเรียนตามจังหวัดทั้ง 17 จังหวัด กำหนดขนาดจำนวนตัวอย่างของแต่ละจังหวัดโดยใช้สัดส่วน แจกแบบสอบถามให้โรงเรียนละ 5 ชุด รวมทั้งสิ้น 1,810 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 1,366 ชุด จากโรงเรียน 284 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80.77 กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามกลับมาในครั้งนี้ได้แก่ ข้าราชการครูที่มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 140 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 40 คนและครูปฏิบัติการรวมจำนวน 1,186 คน รวมทั้งสิ้น 1,366 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (r) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Lisrel 8.80 ผลการวิจัยพบว่า  (1) ระดับวัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือของประเทศไทยอยู่ในระดับมาก (2) วัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผลโรงเรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.976, p< .01) ความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิผลโรงเรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.597, p<.01) และวัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.553, p< .01) และ (3) วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (DE=0.930, p< .01) และความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนในระดับต่ำมาก ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (DE=0.083, p< .05) วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การสามารถร่วมกันทำนายความผันแปรของประสิทธิผลโรงเรียนได้ในระดับสูงมากถึงร้อยละ 95.70 (R2=0.957) โดยตัวแบบสมการโครงสร้างมีค่าดัชนีความเหมาะสม χ2=164.043, χ2/df=4.971, RMSEA=0.118, CFI=0.980, NNFI=0.966, SRMR=0.033

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นรุตต์ ทรงฤทธิ์, สาขาการบริหารการพัฒนาองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

References

เด่นณรงศ์ ธรรมมา. (2557). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพด้านการบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบล. วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร. 16(2), 18-30.

บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2549). อิทธิพลของลักษณะองค์การ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงานสภาพแวดล้อมการทำงานภายในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การที่มีประสิทธิผลของ

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การอุดมศึกษา), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจวรรณ พัชรพงศ์พรรณ และณัฐแก้ว ข้องรอด. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด. วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร. 14(1), 64-69.

ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงษ์เทพ จันทสุวรรณและคณะ. (2555, กรกฏาคม-ธันวาคม). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ แห่งการเรียนรู้และประสิทธิผลของหน่วยงานในสถานีตำรวจนครบาล: การวิเคราะห์เส้นทาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา. 1(1), 17-34.

พรชัย เชื้อชูชาติ. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พวงทิพย์ มั่งคั่ง. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิรุณ อินทร์สิงห์ทอง. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

สำนักงานรองรับมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.). (2558). ข่าวการศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.iqnewsclip.com/selection/onesqa.htm/(วันที่ค้นข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 2558).

สุทธิพงศ์ ยงค์กมล. (2543). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวะนิต สุระสังข์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนในจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อดิศร ร่มสนธิ์. (2542). ความผูกพันและประสิทธิผลขององค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการสำนักงบประมาณ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Allen, N.J. & Mayer, J.P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupation Psychology. 63.

Allen, N.J. & Mayer, J.P. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment: Some methodological Considerations. Human Resource Management Review. 1, 61-98.

Best, J.W. (1977). Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall.

Bollen, K.A. & Long, J.S. (1993). Introduction in K.A. Bollen & L.S. Long. Testing structural equation models. Thousand Oaks. CA: Sage.

Denison, D.R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. New York: John Wiley & Sons.

Denison, D.R. & Mishra, A. K. (1995). Toward a theory of a organizational culture and effectiveness. Organization Science. 6 (2), 204-233.

Denison, D.R., Cho, H. & Young, J. (2000). Diagnosing organizational cultures: Validating a model and method. Unpublished Manuscript, University of Michigan Business School. Ann Arbor, MI.: Aviat.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. Thousand Oaks, CA: Sage.

Hu, L., & Bentler, P.M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling. 6, 1-55.

Leech, N.L., Barrett, K.C. & Morgan, G.A. (2005). SPSS for intermediate statistics: Use and interpretation. 2nd ed. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum.

Kanter, R.M. (1986). Commitment and social organization: A study of commitment mechanisms in utopian communities. American Sociological Review. 33(4), 499-517.

MacCallum, R.C., Browne, M.W. & Sugawara, H.W. (1996). Power analysis and determination of sample size for covariance structure modeling. Psychological Methods. 1, 130-149.

Marquardt, M. (2002). Building the learning organization. 2nd ed. Palo Alto, CA: Davies-Black Publishing.

Quinn, R. E., & Rohrbaugh, J. (1983). A spatial model of effectiveness criteria: Toward a competing values approach to organizational analysis. Management Science. 29, 363-377.

Robbins, S.P. & Coulter, M. (2012). Management. 11sted. New York: Pearson Prentice Hall.

Robbins, S.P. & Judge, T.A.. (2009). Organizational behavior. 13rded. New York: Pearson Prentice Hall.

Schermelleh-Engel, K., Moosbrugger, H. & Muller, H. (2003). Evaluating the fit of structural equation models: Test of significance and descriptive goodness-of-fit measures. Methods of Psychological Research Online 2003. 8(2), 23-74.

Sergiovanni, T. (1988). Leadership: What is in it for school?. Bowker: Taylor & Francis Group.

Steers, R. M. (1975). Problems in the measurement of organizational effectiveness. Administrative Science Quarterly. 20, 546-558.

Wang, L., Fan, X. & Willson, V.L. (1996). Effects of nonnormal data on parameter estimates and fit indices for a model with latent and manifest variables: An empirical study. Structural Equation Modeling. 3(3), 228-247.

Wheaton, B., Muthen, B., Alwin, D.F. & Summers, G. (1977). Assessing reliability and stability in panel models. (Determining model fit) Sociological Methodology. 8(1), 84-136.