ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ตอัพ ของผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธชิษา ศรีจอมทอง
อรพิณ สันติธีรากุล
เขมกร ไชยประสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ตอัพ (Startup Business) ของผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาองค์ประกอบหรือสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่มีส่วนส่งเสริมให้ธุรกิจสตาร์ตอัพเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 ราย ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ตอัพ ทั้งนี้ข้อมูลจากแบบสอบถามได้นำมาวิเคราะห์คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ และคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ x2 และความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า ประเภทธุรกิจที่พบมากที่สุดในธุรกิจสตาร์ตอัพของจังหวัดเชียงใหม่ คือ ธุรกิจประเภท IT 1) ผลการวิจัยระดับแรงจูงใจทางด้านการกระทำทางสังคม พบว่า มีระดับแรงจูงใจในด้านปัจจัยดึงดูดในระดับมากที่สุด ระดับแรงจูงในด้านปัจจัยสนับสนุน มีระดับแรงจูงใจมาก 2) ผลการวิจัยระดับแรงจูงใจทางด้านลักษณะนิสัยของผู้ประกอบการ พบว่า ด้านความต้องการความสำเร็จ มีระดับแรงจูงใจมากที่สุด และด้านความต้องการอำนาจมีระดับแรงจูงใจมาก 3) ผลการวิจัยความสัมพันธ์ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับระดับแรงจูงใจทางด้านการกระทำทางสังคม ด้านปัจจัยด้านความสามารถ หรือปัจจัยสนับสนุน และประเภทธุรกิจมีความสัมพันธ์กับระดับแรงจูงใจทางลักษณะนิสัยของผู้ประกอบการ ด้านความต้องการความสำเร็จ 4) ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจทางด้านการกระทำทางสังคม ด้านปัจจัยผลักดัน (ก่อนเป็นผู้ประกอบการ) แตกต่างกันตามสถานภาพสมรสของผู้ประกอบการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Atawongsa, S. (2014). The Effects of Entrepreneurial Orientation and Enterprise Characteristics Toward Thai SMEs’ Growth. Doctor of Business Administration.Dhurakij Pundit University.

[in Thai]

Chummano, N. & Manohan, A. (2016). Incubation officer. Chiang Mai: Science and Technology Park, Chiang Mai University. [in Thai]

Fiedler, F. E. (1967). A theory of leadership effectiveness. New York: McGraw-Hill.

McClelland, D. C. (1987). Human Motivation. New York: Cambridge University Press.

Moon, B. (2016). Top 10 startup ecosystems in the world 2016. Retrieved January 14, 2017, from https://venturebeat.com/2016/11/05/top-10-startup-ecosystems-in-the-world-2016/

Reeder, W. (1971). Patial theories from thed 25 year research programe on directive factor in Believer and social action. New York: Mcgraw hill.

Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G. & Osborn, R. N. (2003). Organizational behavior (8thed.). Hoboken. NJ Wiley: John Wiley & Sons.

Science and Technology Park, Chiang Mai University. (2014). Northern Science Park. Retrieved September 6, 2016, from https://www.step.cmu.ac.th/sciencepark.php [in Thai]

Smith-Hunter, A., Kapp, J. & Yonkers, V. (2003). A psychological model of entrepreneurial behavior. Journal of Academy of Business and Economics, 2(2), 180-192.

SM Magazine. (2015). STARTUP MARKUP. Retrieved September 4, 2016, from https://lertad.com/startup-markup/startup [in Thai]

Suwannaroj, S., Sangpa, P., Chamlertwat, W., Sunetnanta, T., Jirapanthong, W. & Sunkhamani, J. (2017). Thailand ISO Startup Profile report in 2017. Retrieved August 28, 2017, from https://drive.google.com/file/d/0BxqABs_OC8qjTmVqVkJQSmZZQTA/view [in Thai]

Thailand Startup Association. (2016). The Whitepaper for STARTUP THAILAND 2016. Bangkok: Thailand Startup Association. [in Thai]

Triphopsakul, S. (2015). The Study of Entrepreneurship Motivation on Business Growth and Business Growth Expectation: A Case Study of Thailand. Doctor of Philosophy, Chulalongkorn

University. [in Thai]

Wikipedia. (2016). Startup ecosystem. Retrieved October 29, 2016, from https://en.wikipedia.org/wiki/Startup_ecosystem [in Thai]