การสื่อสารอุดมการณ์ผ่านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์โฆษณา: กรณีศึกษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารอุดมการณ์ผ่านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์โฆษณา: กรณีศึกษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากภาพยนตร์โฆษณาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 22 ชุด (ตั้งแต่ พ.ศ. 2553-2560) ใช้การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารอุดมการณผ์ า่ นการเลา่ เรื่องในภาพยนตรโ์ ฆษณาของการไฟฟา้ ฝา่ ยผลิตแหง่ ประเทศไทยที่สื่อสารไปยังผรูั้บสาร ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารผ่านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์โฆษณา มีดังนี้ 1) โครงเรื่อง ภาพยนตร์โฆษณามีการนำเสนอรูปแบบโครงเรื่องหลากหลายเน้นสร้างทัศนคติเชิงบวกแก่ผู้รับสาร 2) ความขัดแย้ง มีการนำเสนอภาพลักษณ์องค์กรในมุมมองสาธารณประโยชน์เพื่อมุ่งสร้างสัมพันธภาพเชิงบวก 3) ตัวละคร ภาพยนตร์โฆษณามีการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง ตัวละครในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและตัวละครในฐานะที่เป็นผู้อุปโภค 4) แก่นเรื่องมีการสร้างความหมายเน้นความเป็นสังคมอุดมคติให้ผู้รับสารเกิดทัศนคติเชิงบวกต่อองค์กร 5) ฉาก มีการสื่อสารผ่านฉากหลายรูปแบบ เช่น สภาพแวดล้อม วิถีความเป็นอยู่ ฯลฯ 6) สัญลักษณ์พิเศษ มีทั้งแบบวัจนภาษา เช่นคำพูด ถ้อยคำบรรยาย ฯลฯ และแบบอวัจนภาษา เช่น ท่าทาง ภาพ เสียงประกอบ ฯลฯ 7) มุมมองการเล่าเรื่อง มีการเล่าเรื่องโดยผ่านตัวแทนผู้ผลิต ตัวแทนผู้อุปโภค เป็นต้น ทั้งนี้มีการสื่อสารอุดมการณ์ผ่านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์โฆษณาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดังนี้ 1) อุดมการณ์เกี่ยวกับการเมือง 2) อุดมการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และ 3) อุดมการณ์เกี่ยวกับสังคม
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Kaewthep, K. & Hinwiman, S. (2008). The Political Economic and Communication Study. Bangkok:Chula Book Printing. [in Thai]
Kaewthep, K. (2004). Media analysis: concepts and techniques. Bangkok: Higher press. [in Thai]
_______. (2004). Theory and approach of mass communication (4th ed.). Bangkok: Brand Age. [in Thai]
_______. (2006). Science of Media and Cultural Studies (2nd ed.). Bangkok: Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University. [in Thai]
_______. (2008). Basic knowledge management about community communication. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). [in Thai]
Kinlamun, S. (2002). Ideology as reflected in the controversial issue of Bonok Power Plant through news narration. Master of Arts in Journalism, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University. [in Thai]
Numcharoen, N. (2013). The communication of political ideology in Phra Ruang by H.M. King Rama VI. Doctor of Philosophy Program in Mass Communication, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University. [in Thai]