การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม กลุ่มจักสานชุมชนบ้านไชยา หมู่ 4 อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ทรัพย์ อมรภิญโญ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม กลุ่มจักสาน ชุมชนบ้านไชยา หมู่ 4 อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย โดยแบ่งกระบวนการศึกษาออกเป็น 6 กระบวนการ ได้แก่ 1) ศึกษาประเภทผลิตภัณฑ์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) สร้างสรรค์ กลั่นกรอง และประเมินความคิด เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว 3) พัฒนาความคิดและทดสอบความคิดเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 4) หาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับนักท่องเที่ยว 5) สร้างสรรค์ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่จากท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม และ 6) สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ จากท้องถิ่น การวิจัยในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) สนทนากลุ่มกับผู้เกี่ยวข้องในบ้านไชยา หมู่ 4 อำเภอ สระใคร จังหวัดหนองคาย ทั้งหมด 4 กลุ่มประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้วิจัย ได้แก่ ผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแปรรูป ผลิตภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อาหาร 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน สมาชิกชุมชน หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผู้ประกอบการ จำหน่ายของฝาก ผู้ประกอบการที่พัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยว และ 4) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 30 คน ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 300 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผู้ประกอบการ จำหน่ายของฝาก ผู้ประกอบการที่พัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยว และพัฒนาชุมชน จากนั้นสำรวจความ คิดเห็นเกี่ยวกับต้นแบบผลิตภัณฑ์ โดยจัดให้มีสินค้าต้นแบบเพื่อทำการทดลองใช้ก่อนตอบคำถาม โดยใช้การ สุ่มตัวอย่างแบบสะดวกอีกครั้งจากกลุ่มตัวอย่างเดิม แล้วนำมาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ คือ กระติบข้าวเหนียวที่ใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุกักเก็บ ความร้อน และผลการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบพบว่า มีความโดดเด่น ในด้าน 1) วัสดุธรรมชาติจากภูมิปัญญา 2) เก็บความร้อนได้ดีมีคุณภาพ 3) มีภาพลักษณ์ในตัวเองโดดเด่น 4) มีเรื่องราวความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ 5) เสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีองค์ความรู้สามารถพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ ของตนให้มีมูลค่าเพิ่ม ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และยังคงอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาผสมผสานกับการ พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และชุมชนได้มีการทดลองจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้นแบบในตลาดจริงพบว่า ผลิตภัณฑ์ ได้รับการตอบสนองที่ดีต่อผู้บริโภค ทำให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนเห็นคุณค่าของวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมจักสานของตน เกิดช่างจักสานรุ่นใหม่ในและนอกชุมชน เชื่อมั่นว่าสามารถสร้างรายได้และเสริมสร้าง ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Artitkawin, A., Inthakhan, P., & Thongsuk, J. (2019). The Added Values of Ceramic Brand by Developing Packageing Formats for Competitive Opportunities of Small Enterprises in Wares, Decorations, and Souvenirs Lampang. Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University, 12(1), 1-12.

Chemsripong, S. & Petmee, P. (2017). Creating Value Added Products from Local Wisdom: A Case Study of the Ancient Cloth. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(4), 62-85.

Chomchuen, T. & Jaiban, S. (2015). Enhancing of Productive Potentiality of Community Products “Karen Weaving” with Sufficiency Economy and Creative Economy: Case of Mae Yao Subdistrict Community, Muang District, Chiang Rai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 2(2), 203-214.

De Chernatony, L., Harris, F., & Riley, F. D. O. (2000). Added Value: Its Nature, Roles and Sustainability. European Journal of Marketing, 1(2), 39-56.

Grace, T. S. & Fridah, T. (2016). Factors Affecting Value Addition to Tea by Buyers within the Kenyan Tea Trade Value Chain. International Journal of Humanities Social Sciences and Education (IJHSSE), 3(2), 133-142.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Nikorn, S., Aphinya, C., Bannaruk, T., Khonchanok, N., & Kanokwan, L. (2019). Creating Value Added Antique Woven Fabric of Thap Klai Community, Uthai Thani Province. Journal of Community Development and Life Quality, 9(1), 1-13.

Prommaroeng, S. (2018). The Elevation Approach of OTOP’s Foods Which Produced in Mae Ban Rim Rong Community Enterprise of Makeujae Sub-District, Muang District, Lamphun Province. Journal of Social Science, Srinakharinwirot University, 21(1), 248-249.

Sankamethawee, W., Pierce, A. J., Gale, G. A., & Hardesty, B. D. (2011). Plant Frugivore Interactions in an Intact Tropical Forest in North East Thailand. Integrative Zoology, 6(3), 195-212.

Sareerat, S. (2017). Consumer Behavior. Bangkok: Theerafilm and Syntex. [in Thai]

Suvannin, W. (2020). The Value-Added Approach of Local Wisdom Products for Sustainability: A Case Study of Community Model in Nong Khai Province. BU Academic Review, 19(1), 109-127.

Tekhanmag, K. & Thampramaun, P. (2020). Wickers Product Development to the Creative Economy of Ban Pakklongbangkapieng, Huaphai Sub-District, Muang District, Singburi Province. NRRU Community Research Journal, 14(2), 44-56.