รูปแบบการประกอบธุรกิจรายจิ๋ว (Micro Business) ของผู้เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรม ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ธัชกร ภัทรพันปี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของผู้เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรมในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจรายจิ๋วของผู้เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรม 3) ศึกษารูปแบบการประกอบธุรกิจรายจิ๋วที่เหมาะสม และ 4) เสนอรูปแบบการประกอบธุรกิจรายจิ๋วสำหรับ ผู้เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณคือผู้เกษียณอายุที่อาศัยอยู่บริเวณ โดยรอบโรงงานในแต่ละตำบลในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 327 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักใน การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิง ลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ผลข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า ผู้เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง การศึกษามัธยมศึกษา สถานะสัญญาจ้างการทำงานในปัจจุบันสิ้นสุดงานตามสัญญาจ้าง ระยะ เวลาการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม 16-20 ปี มีประสบการณ์ในกลุ่มงานโรงงานอุตสาหกรรมเป็นช่างฝีมือ ประสบการณ์ทำงานในกลุ่มประเภทโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ สถานะมีงานทำหลังเกษียณอายุ เป็นแรงงานนอกระบบ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหลังเกษียณอายุ 3,001-9,000 บาท แหล่งที่มาของรายได้จากการ ทำงานเป็นหลักของครอบครัว มีความต้องการมีงาน เหตุผลสำคัญในการมีรายได้หลังเกษียณอายุมีรายได้แบ่งเบา ภาระครอบครัว ประเภทธุรกิจที่มีความต้องการประกอบธุรกิจค้าขายทั้ง online และ offline และระดับความ คิดเห็นเกี่ยวกับประกอบธุรกิจรายจิ๋วของผู้เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.48) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปหาน้อยเป็นรายด้านพบว่า ในระดับมากคือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน การประกอบธุรกิจรายจิ๋ว (gif.latex?\bar{x} = 3.83) ด้านความรู้แห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจรายจิ๋ว (gif.latex?\bar{x} = 3.63) ด้าน ความรู้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจรายจิ๋ว (gif.latex?\bar{x} = 3.58) และในระดับน้อยคือด้านแรงจูงใจและแรงบันดาลใจในการประกอบธุรกิจรายจิ๋ว (gif.latex?\bar{x} = 2.88) ตามลำดับ สำหรับผลการศึกษารูปแบบการประกอบธุรกิจรายจิ๋วที่ส่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เกษียณอายุภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ การมีพฤติกรรมทีมุ่งมั่นในการศึกษาค้นคว้าสร้างชุดความรู้ที่ตนถนัดเพื่อการประกอบธุรกิจและการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่อความคล่องตัวรวมถึงการมีเครือข่ายส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกอบธุรกิจมีความเข้มแข็ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

References

Best, W. J. (1997). Research in Education (2nd ed.). Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hell, Inc.

Chaipattana Foundation. (2007). Sufficiency Economy and New Theory. Bangkok: Aumarin Printing. [in Thai]

Constitution of the Kingdom of Thailand (B.E. 2017). (2017). Government Gazette. (134, 40), 6 April 2017, Pages 1-90. [in Thai]

Department of Employment Ministry of Labor. (2018). Summary Report of Operations in Accordance with Government Policy (12 September 2016-31 July 2017). Bangkok: Ministry of Labor. [in Thai]

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). (2017). Annual Report on the Situation of the Elderly in 2017. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). [in Thai]

Information Center. (2017). Manufacturing List of Members. Samut Prakarn : Samut Prakarn Provincial Industry office. [in Thai]

Robert, V. K. & Earyle W. M. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608.

Kulthanavit, P. & Soonthornchawakan, N. (2019). Evidence from the Survey of Post-retirement Employment. BU Academic Review, 18(1), 148. [in Thai]

National Committee for the Elderly. (2010). The 2nd National Plan on the Elderly (NPE) (2002-2021) 1st Revised. Bangkok: Amarin Printing. [in Thai]

National Economic and Social Development Board. (2018). Guidelines Integrated for Driving Strategies of Elderly Development. Bangkok: Office of National Economic and Social Development Board. [in Thai]

Office of the Economy Labor. (2013). Promoting Desirable Elderly Employment Opportunities. Bangkok: Office of the Economy Labor, Permanent Ministry of Labor. [in Thai]

Office of National Labor Advisory Council. (2014). Employment Promotion for Thai and International Elderly. Bangkok: Office of the Economy Labor, Permanent Ministry of Labor, Ministry of Labor. [in Thai]

Phattaraphanpee, T. (2017). Business in Digital Era. Bangkok: Protexprinting. [in Thai]

Pinyoyong, A. (2019, July 12). Interview. Committee of Nation Congress of Thai Labour, Nation Congress of Labour (NCTL). [in Thai]

Putkiroj, N. (2018). Business Model for Entrepreneur. Retrieved August 31, 2019, from https://bmcthailand.com/business-model-canvas [in Thai]

Secretariat of the House of Representatives. (2016). The Extension of Retirement with the Thai Bureaucracy. Academic Service Documentary Office, Secretariat of the House of Representatives. [in Thai]

Soothorndhada, K. (2014). Operation Guidelines and Mechanism of Employment Policy for the Elderly (Research Report). Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). [in Thai]

Sorat, T. (2019). Open Province that Unemployment Risk. Retrieved October 8, 2019, from https://www.thairath/co.th/news/business/market-business/1677700 [in Thai]

Srisuchart, S., Tangtipongkul, K., & Aroonruengsawat, A. (2018). Promotion of Income and Employment for the Elderly as Civil State Policy for Society (E6). Institute for Continuing Education and Human Resources, Thammasat University. [in Thai]

Sungrugsa, N. & Phungpho, W. (2018). Decode Startup Business Entrepreneurial Management in Thailand 4.0. Dusit Thani College Journal, 12(3), 339. [in Thai]

Thai Association of Small & Medium Enterprises. (2016). Loan Opportunities for Micro Businesses. Retrieved July 6, 2019, from https:/ /www. facebook.com//atsme/photos/122100743126 [in Thai]

Wanrat, T. (2016). Middle-aged Labor and Career Change: Study of Labor Textile and Garment Industry. Bangkok: Friedrich-Ebert. [in Thai]

Wongprom, J., Yenbamrung, T., Jongwutiwes, K., Chaowagul, M., & Maneerat, S. (2015). Mechanisms for Promotion of Employment of Older Persons who are Informal Laborers (Research Report). Khon Kaen University. [in Thai]