ผลการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศกระบวนการ DMAIC ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศกระบวนการ DMAIC ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 2) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศกระบวนการ DMAIC ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 3) ประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศกระบวนการ DMAIC ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา ซึ่งดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการปรับปรุงคุณภาพรูปแบบการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสาน ระยะที่ 2 การนำรูปแบบการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสานไปใช้เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศกระบวนการ DMAIC เป็นเวลา 16 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม จำนวน 23 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ภาคเรียนที่ 1/2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสาน 2) แบบประเมินการคัดเลือกปัญหาจากกิจกรรมการรู้สารสนเทศ 3) แบบประเมินการจัดกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ผลการพัฒนารูปแบบการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสาน 5 ขั้น ได้แก่ 1) D: วิเคราะห์และค้นหา เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อค้นหาปัญหาจากการใช้นวัตกรรม ในการระบุ ชี้กำหนด 2) M: พัฒนากิจกรรมการรู้สารสนเทศในศตวรรษที่ 21 3) A: การเลือกสื่อการสอนออนไลน์บูรณาการขั้นการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสาน 4) I: ให้ความรู้และปฏิบัติทักษะกระบวนการ และ 5) C: การประเมินผล เพื่อปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา และผลการวิจัยระยะที่ 2 ผลการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศกระบวนการ DMAIC ในศตวรรษที่ 21 พบว่า ผลการวิจัยประสิทธิผลหลังเรียนของนักศึกษามีความรู้สารสนเทศสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรมแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศกระบวนการ DMAIC ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา อยู่ในระดับมาก
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Benjaratthapong, K. (2015). Six Sigma Application in Pivot Production Process. Master of Engineering in Industrial Development Department of Industrial Engineering Faculty of Engineering, Thammasat University. [in Thai]
Changkit, N. & Sathapornwachana, S. (2016). Model of School Administration According to Six Sigma Management Under Primary Educational Service Area Office. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 768-786. [in Thai]
Christine, B. T. (2003). Six Sigma software development. U.S.A.: CRC Press LLC.
Cronbach, L. J. (1971). Test Validation. In R. Thorndike (Ed.), Educational Measurement (2nd ed.). Washington DC: American Council on Education.
Eckes, G. (2001). Making Six Sigma last: Managing the balance between cultural and technical change. New York: Wiley.
Heather, S. & Michael, B. H. (2012). Classifying K-12 Blended Learning. Retrieved September 20, 2017, from https://www.christenseninstitute.org/wp-content/uploads/2013/04/ Classifying-K-12-blended-learning.pdf
Jared, M. C. (2002). Blended learning design. Retrieved September 20, 2017, from http://blended 2010.pbworks.com/f/Carman.pdf
Michael, B. H. & Katherine, M. (2011). The Rise of K–12 Blended Learning Profiles of emerging models. Retrieved September 20, 2017, from https://www.christenseninstitute.org/wp-content/uploads/2013/04/The-rise-of-K-12-blended-learning.emerging-models.pdf
Ministy of Education. (2018). Digital Active Learning. Retrieved March 25, 2018, from https://www.moe. go.th/ moe/th/news/detail.php?NewsID=5336&Key=news [in Thai]
Ninsuk, P. (2018). Blended Learning Gen Z. Rajabhat University Journal, 5(2), 1-17. [in Thai]
Pande, S. (2001). Estratvgia Six Sigma: como a GE, a Motorola e outras grandes empresas estao aguçando seu desempenho. Rio de Janeiro, Brazil: Qualitymark.
Parnichprainchai, T. (2013). Preliminary Research. Phitsanulok: Naresuan University. [in Thai]
Pheeraphan, N. (2016). Studio TEACH forPre-Service Teacher Development in the 21st Century. Journal of Behavioral Science, 22(1), 1-16. [in Thai]
Rungarun, V. (2015). Solution Guidelines of Using Early Childhood Curriculum by Using Six Sigma of Child Development Centers in Pharanakhon Si Ayutthaya Province. ARU Research Journal, (2), 31-38. [in Thai]
Salles, E. (2002). Total Quality Management in Education (3rd ed.). London: Kogan Page.
Sattrapruek, S. (2017). Flipped Classroom in 21st Century Learning for Development of Learning and Innovation Skills. Academic Services Journal, Prince of Songkla University [ASJ-PSU], 28(1), 100-108. [in Thai]
Sawekngam, W. (2015). Development of an Instructional Quality Improvement Process by Applying the Six Sigma Process and Complete Needs Assessment. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang Journal, 14(2), 34-41. [in Thai]
Sukwan, O. (2013). The enhancment of learning management quality under thai qualifications framework for higher education (tqf: hed) for pre-serveice teachers through cooperative learning. Srinakharinwirot Research and Development. Journal of Humanities and Social Sciences, 5(10), 130-114. [in Thai]
Sungkavadee, K., Khochoho, V. & Kaewurai, R. (2014). Quality information system for instruction management teaching by six sigma in university. Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences, 15(1), 138-148. [in Thai]
Tayntor, C. B. (2003). Six Sigma Software Development. Florida: Auerbach.
Thammetar, T. (2014). E-learning: from theory to practice. Nonthaburi: Sahamitr printing and publishing Company Limited. [in Thai]
Woraphat, P. & Tanakit, J. (2014). Six Sigma. Bangkok: SE-ED Book Center. [in Thai]