การวิเคราะห์โซ่อุปทานของผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ด้วย SCOR Model: กรณีศึกษา บริษัท สวนละออ จำกัด

Main Article Content

มลฤดี จันทรัตน์
มนตรี คงตระกูลเทียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์โซ่อุปทานของผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ด้วย SCOR Model กรณีศึกษาบริษัท สวนละออ จำกัด โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตผักสลัด ไฮโดรโพนิกส์ของบริษัท สวนละออ จำกัด ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า โซ่อุปทานของผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ประกอบด้วย ส่วนต้นนํ้า คือ ร้านจัดจำหน่ายปัจจัยการปลูกผักสลัด ไฮโดรโพนิกส์ให้แก่บริษัท สวนละออ จำกัด และส่วนของการผลิตผักสลัดซึ่งดำเนินการโดยบริษัท สวนละออ จำกัด จากนั้นผักสลัดทั้งหมดจะถูกส่งไปจัดจำหน่าย ในส่วนปลายนํ้าโดยผักสลัดจากบริษัท สวนละออ จำกัด จะถูกจัดส่งไปยังผู้บริโภค โดยผ่านร้านค้าต่างๆ ผลการวิเคราะห์โซ่อุปทานต้นนํ้าตามมิติต่างๆ ของ SCOR Model ในแต่ละหน้าที่เป็นดังนี้ 1) กระบวนการวางแผนพบว่า บริษัท สวนละออ จำกัด มีการวางแผนการผลิตผักสลัด ที่ดี โดยฝ่ายการตลาดจะเป็นผู้กำหนดปริมาณการผลิตในแต่ละรอบปลูก ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาการผลิตใน ปริมาณที่เกินจากความต้องการของผู้บริโภคได้ 2) กระบวนการจัดหาปัจจัยการผลิตพบว่า บริษัท สวนละออ จำกัด มีกระบวนการจัดหาที่ดี เป็นระบบ มีการควบคุมคุณภาพของปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน ของเมล็ดพันธุ์ผัก 3) กระบวนการผลิตพบว่า บริษัท สวนละออ จำกัด มีกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน อย่างไร ก็ตามยังประสบปัญหาในการปลูกผักช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งผลกระทบทำให้คุณภาพและปริมาณของผักลดลง 4) กระบวนการจัดส่งผลผลิตพบว่า บริษัท สวนละออ จำกัด มีการขนส่งในเวลากลางคืนเพื่อลดผลกระทบ จากอุณหภูมิที่สูงในเวลากลางวัน และ 5) กระบวนการส่งคืนพบว่า ไม่มีปัญหาเรื่องการส่งคืนเพราะทางบริษัท สวนละออ จำกัด ได้มีการควบคุมคุณภาพของสินค้าก่อนส่งออกจากฟาร์ม ทำให้สินค้ามีคุณภาพตามที่ผู้บริโภค ต้องการ จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) บริษัท สวนละออ จำกัด ควรพัฒนากระบวนการผลิตโดยเฉพาะ อย่างยิ่งองค์ความรู้ในการดูแลผักในฤดูร้อนและฤดูฝนเพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพของผักในฤดูร้อนได้ และ 2) บริษัท สวนละออ จำกัด ควรเผยแพร่องค์ความรู้ในการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์แก่ผู้ที่สนใจเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Layraman, T. (2015). Management of the Organic Vegetable Growers Group of Nong Pa Khrang Community, Muang District, Chiang Mai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 3(3), 309-318. [in Thai]

Rasameeted, B. (2007). The Supply Chain Modeling of Pesticide Free Agriculture Products in the Thai Multinational Supermarket. Lecture Document of Advanced Production Management subject Master’s Program for Executives, Kasetsart University. [in Thai]

Sangjaruswong, N. (2005). A Study of Factors Affecting the Consumption Behavior of Hydroponic Vegetables of People in Bangkok. Independent Study of Master’s Degree, Kasetsart University. [in Thai]

Sateansawad, W. (1998). Development of Plant Technology with Hydroponics. Documentation for the Seminar. Bangkok: National Research Council of Thailand. [in Thai]

Supply Chain Council. (2010). Supply Chain Operations Reference (SCOR) Model: Overview-Version 10.0. Cypress, TX: The Council.

Thongaram, D. (2007). Soilless Culture in Tropics: Production Management and Technology of Production Business in Thailand (3rd ed). Bangkok: Se-Education Public Co., Ltd. [in Thai]

Thongaram, D. (2007). Soilless Growing: Principles of Production Management and Business Production Technology in Thailand (3rd ed.). Bangkok: Pimdee Printing Co., Ltd. [in Thai]

Thongaram, D. (2004). Soilless Growing: Principles of Production Management and Business Production Technology in Thailand (12nd ed.). Bangkok: Pimdee Printing Co., Ltd. [in Thai]