การพัฒนาบทเรียน e-learning ควบคู่กับการใช้งาน Google Classroom Applications เรื่อง พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ไพโรจน์ ภู่ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียน e-learning ควบคู่กับ การใช้งาน Google Classroom Applications เรื่อง พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียน e-learning ควบคู่กับการใช้งาน Google Classroom Applications เรื่อง พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อบทเรียน e-learning ควบคู่กับการใช้งาน Google Classroom Applications เรื่อง พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ลงทะเบียนเรียน วิชา SC60103 การใช้โปรแกรมประยุกต์ในองค์กรสมัยใหม่ จำนวน 30 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้ค่า E1/E2 โดยตั้งค่าเป้าหมาย E1 = 80 และ E2 = 80 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน Paired samples t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียน e-learning ควบคู่กับการใช้งาน Google Classroom Applications ที่สร้างขึ้น ได้ค่าเท่ากับ 83.5/85.3 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี (gif.latex?\bar{x}  = 4.28) 2) ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจ ของนักศึกษาต่อบทเรียน e-learning ควบคู่กับการใช้งาน Google Classroom Applications อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.03)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Science Service. (2015). What is Cloud Computing? Retrieved June 23, 2018, from http://lib3.dss.go.th knowledge/bsti-6-2558-cloud.pdf

Gartner. (2013). Gartner Says Worldwide Public Cloud Services Market to Total $131Billion. Retrieved June 23, 2018, from https://www.gartner.com/en/newsroom/press-releases/2017-02-22-gartner-says-worldwide- public-cloud-services-market-to-grow-18-percent-in-2017

Kongrugsa, N. (2014). Teaching Management and Cloud Computing 21st Century. Bangkok: Journal of Vocational and Technical Education King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 4(7), 52-59. [in Thai]

Kuder, G. & Richardson, M. W. (1937). The Theory of Estimation of Test Reliability. Retrieved May 19, 2018, from https://www.scirp.org/reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=1342881

Pinyoanantapong, B. (2012). Educational Measurement and Evaluation. Bangkok: Aksorn Charoen Tat.

Putong, P. (2017). Development of e-learning Program in Combination with Tools Activities in the Education Applications Group on the Topic of Excel Program for the First Year Students of Private Educational Institutions. Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 11(1), 104-114. [in Thai]

Fakkao, S. (2020). Teacher as Instructional Designer in 21st Century. Panyapiwat Journal, 12(2), 302-314. [in Thai]

Salem, A. (2017). Apply of e-Learning in the Teaching Process Minburi Bangkok Business Administration Technological College. Master’s thesis, Mahanakorn University of Technology.

Saiyot, L. & Saiyot, A. (1995). Educational Research Techniques. Bangkok: Suwiriyasarn.

Sangkhawadee, R. (2017). The Development of e-learning with Activities on Facebook in the Ways of Living in the Digital Course: The Ethics of Living in the Ways of Living in the Digital Age Bachelor Degree Students Naresuan University. Journal of Education Naresuan University, 19(3), 133-145. [in Thai]