การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานสําหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน สําหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนระหว่างใช้กระบวนการวิจัยกับใช้ผลการวิจัย และการสอนแบบเดิม สําหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน สําหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากําาลัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จํานวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการหาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน สําหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรมพบว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน ใช้ผลการวิจัยเป็นฐานหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.40 ร้อยละ 80.95 และร้อยละ 53.17
2. ผลการเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทั้ง 3 รูปแบบ ระหว่างใช้กระบวนการวิจัยกับใช้ผลการวิจัย และการสอนแบบเดิม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่จํานวน 2 คู่ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยกับการสอนแบบเดิม และการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผลการวิจัยกับการสอนแบบเดิม
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน สําาหรับจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สําานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Banchonhatthakit, P. (2012). Development of teaching and learning through research-based learning management in health education and health promotion. Journal of Public Health Research Khon Kaen University, 5(1), 97-105. [in Thai]
Chanpheng, P. (2011). Organization of research-based learning activities to develop knowledge and research skills of students of the Faculty of Education. Khon Kaen University: KKU Research Journal, 1(2), 21-44. [in Thai]
Barbara, C. (1997). Growing up gifted (5th ed.). Prentice-Hall.
Dunn, R., & Dunn, K. (1995). Teaching secondary students through their individual learning styles: Practical approaches for grade 7-12. Allyn and Bacon.
Fahchaiyaphum, K. (2011). Comparison of educational achievement in food and nutrition, analytical thinking and creativity of grade 5 students studying with research-based learning management and conventional learning management [Master’s thesis]. Mahasarakham University. [in Thai]
Hassan, S. (2013). Applying research-based learning in medical education through the route of special study modules: Notes from the UK. SA-eDUC Journal, 10(1), 1-26.
Khammanee, T. (2005). Pedagogical science (4th ed.). Dan Suttha Printing. [in Thai]
Khammanee, T. (2017). Pedagogical science: Knowledge for effective learning management. Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Ministry of Education. (2002). Research for learning. Teachers Council Ladprao Printing House. [in Thai]
Ministry of Education. (2013). Training guide for speakers paradigm adjustment and curricula development of educational institutions. Teachers Council Ladprao Printing House. [in Thai]
Phithiyanuwat, S., & Boonterm, T. (2004). Research-based teaching and learning: Compilation article. In S. Paitoon (Ed.), Research-based teaching. Center for Academic Tables and Documents, Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]
Phithiyanuwat, S., & Boonterm, T. (2020). Office of vocational education commission. Goldsmith. http://km.goldsmith.ac.th/files/1209060883714449_12112111112607.pdf [in Thai]
Rattanaubol, A. (2004). Research-based teaching by using promise of learning. In Research-based Teaching (pp. 61-79). Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]
Saenphao, W. (2009). Administrative factors affecting the decision to study in a Private Vocational School Chiang Rai Educational Service Area 1 [Master’s thesis]. Graduate school Chiang Rai Rajabhat University. [in Thai]
Sinlarat, P. (2012). Principles and techniques of teaching at the higher education level. Printing House of Chulalongkorn University. [in Thai]
Sitchinda, P. (2009). Adjusting learning and teaching with research outside the classroom. RBRU. http://node.rbru.ac.th/article/article31.pdf [in Thai]
Thammachat, J. (2009). Research and development of a research-based learning management model in educational research courses. PSU. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8267 [in Thai]
Tishuka, P. (2013). The development of teaching and learning models using research as a base curriculum development course for teacher professional students. Thapra Palace Library. http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Phichittra_Teesuka_Doctor/fulltext.pdf [in Thai]
Wichadee, S. (2011). Education in a new paradigm: Research-based learning. Executive Journal, 31(3), 26-30. [in Thai]
Wiphatiprater, T. (2014). The effects of research-based learning on students’ knowledge of ASEAN culture. Education Journal Naresuan University, 16(1), 54-62. [in Thai]
Wongnutararot, P. (1999). Organization and administration of vocational education. Pim-Dee. [in Thai]