การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom ของนิสิตสาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ธนดล ภูสีฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ Google Classroom ของนิสิตสาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) ศึกษาการทำงานเป็นทีมในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ Google Classroom 3) ศึกษาผลการใช้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ Google Classroom มีขั้นตอนเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียน การสอนแบบออนไลน์โดยใช้ Google Classroom ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบฯ และระยะที่ 3 เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์โดยใช้ Google Classroom กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการสัมมนาและสร้างเสริมประสบการณ์ วิชาชีพครูจำนวน 52 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1.1) วัตถุประสงค์การเรียนการสอนแบบออนไลน์ประกอบด้วย 1 ขั้นตอนคือ อธิบายวัตถุประสงค์และชี้แจงเงื่อนไขในการเรียนแก่ผู้เรียน 1.2) การวิเคราะห์บริบทการเรียน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 1.2.1) ผู้เรียน 1.2.2) ผู้สอน 1.2.3) เนื้อหา 1.2.4) สื่อการเรียนการสอน 1.2.5) เวลา 1.3) กลยุทธ์การเรียนการสอนออนไลน์ ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ดังนี้ 1.3.1) การทำงานระบบทีม 1.3.2) ความรับผิดชอบของสมาชิก 1.3.3) ภารกิจ 1.3.4) การสื่อสาร 1.3.5) ปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้ 1.3.6) สร้าง แรงจูงใจ 1.3.7) การวางเงื่อนไขกิจกรรม 1.3.8) การนำเสนอผลงานและรายงานความก้าวหน้า 1.3.9) การสะท้อนผล 1.4) การประเมินผลการเรียนออนไลน์ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนดังนี้ 1.4.1) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับผลการเรียนรู้ 1.4.2) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลักษณะการทำงานเป็นทีมและผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ Google Classroom โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาผลการเรียนรู้พบว่า 2.1) นิสิตที่เรียนด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ Google Classroom มีผลประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.56/82.43 2.2) นิสิตที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ Google Classroom มีผลดัชนี ประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7016

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Brown, W. H., Whiting, F. M., Daboll, B. S., Turner, R. J., & Schuh, J. D. (1977). Pelleted and Non-pelleted Cottonseed Hulls for Lactating Dairy Cows. Journal of Dairy Science, 62(6), 919-923.

Charoenmahavit, B. (2020). Knowledge Border in the Digital Age. Journal of Business Administration and Social Sciences Ramkhamhaeng University, 3(2), 1. [in Thai]

Driscoll, M. (2002). Blended Learning: Let’s Get Beyond the Hype. E-Learning, 1(4), 1-3.

Eisner, E. (1976). Educational Connoisseurship and Criticism: Their Form and Functions in Educational Evaluation. Journal of Aesthetic Evaluation or Education, 10(3/4), 135-150.

Gerlach, V. S. & Ely, P. D. (1980). Teaching and Media: A Systematic Approach. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Iftakha, S. (2016). Google Classroom: What Works and How? Journal of Education and Social Sciences, 3(2), 12-18.

Jaisabai, J. (2019). Development of Learning Achievement for Information Technology to Life Using Google Classroom. Journal of That Phanom Review, 3(1), 19-31. [in Thai]

Khiamanee, T. (2017). Science of Knowledge Teaching for Efficient Learning Process Management (21st ed.). Bangkok: The Publisher of Chulalongkorn University. [in Thai]

Phumpuang, K., Thammetar, T., Natakuatoong, O., & Tantasanawong, P. (2017). The Development of E-learning Model by Collaborative Learning on Social Media to Develop Information Literacy Skills for Undergraduate Students of Faculty of Education. Journal of Education Naresuan University, 22(1), 29-44. [in Thai]

Prombuasri, P. & Swangwatanasade, O. (2017). Development of Coaching Instructor in 21st Century. Journal of Health Science Research, 11(1), 112. [in Thai]

Sittiwong, T. & Namoungon, S. (2018). The Development Model of Teaching and Learning Place-based Learning Reference Points of Study in Conjunction with the QSCCS Process to Promote Learning in the 21st Century for the Students in the High School Education. Panyapiwat Journal, 10(3), 309-321. [in Thai]

Thanaroj, S., Keadthong, V., & Sueamak, W. (2019). Development of Instructional Package on the Topic Nursing Teamwork with Simulation Based Learning for Nursing Students. Journal of Health Research and Innovation, 2(1), 58-72. [in Thai]

Thammetar, T. (2014). E-learning: From Theory to Practice. Bangkok: Thai Cyber University Project, the Commission on Higher Education. [in Thai]

ThinkExist. (2008). The Leadership Challenge: How to Get Extraordinary Things Done in Organizations. San Francisco: Jossey Bass.

Woodcock, M. (1989). Team Development Manual (2nd ed.). Worcester, Great Britain: Billing & Son.