การวินิจฉัยองค์การด้วย 13 หลักการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของเครือเจริญโภคภัณฑ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครื่องมือประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาองค์การ โดย ใช้กรอบของหลักการ 13 ข้อในการบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศของกลุ่ม ซี.พี. เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) โดยใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการเก็บข้อมูลจาก 31 องค์กรธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Conventional Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า องค์กรต่างให้ความสำคัญโดยมองแต่หลักการบริหารมีความจำเป็น (Important: I) ในระดับมากที่สุด ( = 5.62) และมีสภาพความเป็นอยู่จริง (Degree of Success: D) ในระดับมาก ( = 4.02) กล่าวได้ว่าเครื่องมือวินิจฉัยองค์กรนี้สามารถแยกแยะให้เห็นสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริง และความต้องการที่ควรจะ มีได้อย่างค่อนข้างชัดเจนในทุกระบบองค์กรเป็นอยู่จริง ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างหลักการ การบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศกับผลลัพธ์การดำเนินธุรกิจพบว่า การนำองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การ มุ่งเน้นคน การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ การมุ่งเน้นลูกค้า การจัดการเศรษฐกิจสีเขียว การวัด การวิเคราะห์ผล การดำเนินงาน การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการตัดสินใจเพื่อความยั่งยืน การสร้างนวัตกรรม การจัดการ ข้อมูล สารสนเทศและระบบไอที และการกำกับดูแลองค์กร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลลัพธ์การดำเนินธุรกิจที่ ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Charoen Pokphand Group. (2014a). Business Organizations. Bangkok: Sustainability Management - Charoen Pokphand Group. [in Thai]
Charoen Pokphand Group. (2014b). CP Excellence (CPEX). Bangkok: Sustainability Management - Charoen Pokphand Group. [in Thai]
Charoen Pokphand Group. (2017). Sustainability Report 2017. Bangkok: Charoen Pokphand Group - (CP) Group. [in Thai]
Charoen Pokphand Group. (2019). Force for a Sustainability. Retrieved April 22, 2021, from www.cpgroupglobal.com [in Thai]
Chearavanont, T. (2019). Success in One Day. Retrieved September. 30, 2019, form https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_1693074 [in Thai]
Cronbach, L. J. (1970). Essential of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper.
Department of Commerce, USA. (2019). 2019-2020 Criteria for Performance Excellence Gaithersburg. Retrieved April 27, 2021, from www.nist.gov/Baldrige
Farkas, M. G. & Hinchliffe, L. J. (2013). Library Faculty and Instructional Assessment: Creating a Culture of Assessment through the High-Performance Programming Model of Organizational Transformation. Collaborative Librarianship, 5(3), 177-188. https://doi.org/10.29087/2013.5.3.05
Gartner. (2020). HR Priorities Survey. Retrieved June 15, 2021, from www.gartner.com
Gartner. (2021). Building Future-ready Organization in ASIA. Retrieved June 15, 2021, www.gartner.com
Levinson, H. (2013). Organizational Assessment: A Step-by-Step Guide to Effective Consulting. Washington DC: American Psychological Association.
National Quality Award Office. (2019). Criteria for the National Quality Award 2020-2021. Bangkok: National Productivity Institute. [in Thai]
Nelson, L. & Burns, F. L. (1984). High Performance Programming: A Framework for Transforming Organizations. In J. Adams (Ed.), Transforming Work (pp. 226-242). Alexandria, VA: Miles River Press.
Peters, T. J. & Waterman, R. H. Jr. (1982). In Search of Excellence: Learns from America’s Best-run Corporation. New York: Harpers & ROW.
Rothwell, W. J., Stopper, L. M. A., & Myers, J. L. (2017). Assessment and Diagnosis for Organization Development: Powerful Tools and Perspectives for the OD Practitioners. NW: Taylor & Francis Group.
Royse, D., Staton-Tindall, M., Badges, K., & Webster, J. M. (2009). Need Assessment. Oxford: Oxford University Press.
Stopper, L. M. A. & Myers, L. J. (2017). Diagnosis and Assuming Organization Effectiveness. in W. J. Rothwell, A. L. M. Stopper, & J. L. Myers (Eds.), Assessment and Diagnosis for Organization Development: Powerful Tools and Perspectives for the OD Practitioners (pp. 11-28). NW: Taylor & Francis Group.
Wongwanich, S. (2007). Needs Assessment Research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]
Yoon, H. J. (2017). Diagnostic Models Addressing Environment Forces and Organizational Readiness. In W. J. Rothwell, A. L. M. Stopper, & J. L. Myers (Eds.), Assessment and Diagnosis for Organization Development: Powerful Tools and Perspectives for the OD Practitioners (pp. 55-78). NW: Taylor & Francis Group.