การจัดทำาแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพินและองค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนาก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

นรา พงษ์พานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนที่มีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย 2) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพ ความต้องการด้านที่อยู่อาศัย 3) ออกแบบและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย 4)ผลักดัน ติดตาม และทบทวน 5) สรุปผลและถอดบทเรียน ผ่านการมีส่วนร่วมกับชุมชนเป้าหมายและภาคีที่เกี่ยวข้องคือสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า กรมป่าไม้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกระบวนการศึกษาสำรวจ วิเคราะห์พื้นที่ การออกแบบและจัดทำแผนแม่บท พร้อมทั้งผลักดัน ติดตาม ตรวจสอบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยการใช้เครื่องมือวิจัย แผนที่เดินดิน ปฏิทินชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์แบบการจำแนกชนิดข้อมูล การวิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุการณ์การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร กลุ่มเป้าหมายคือ ตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของชุมชนเป้าหมาย ที่สามารถให้ข้อมูลได้อย่างเพียงพอ และตรงกับประเด็นจนได้ข้อมูลครบถ้วนอิ่มตัว ด้วยวิธีการเลือกแบบโควตาชุมชนละ 20 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 80 คน ผลการวิจัยสามารถพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเชื่อมโยงภาคีที่เกี่ยวข้อง ระบุประเด็นสำคัญด้านความต้องการเข้าถึงแหล่งทุนและสินเชื่อเพื่อการอยู่อาศัย ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ภายใต้แผนแม่บท จำนวน 5 แผนงาน และ 12 โครงการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alameda County Public Health Department. (2004). A handbook for participatory community assessments: Experiences from Alameda County. Alameda County Public Health Department.

Department of Public Works and Town & Country Planning. (2009). Manual for specifc plan preparation. The Offce of National Buddhism Press.

Khlong Chanak Subdistrict Administrative Organization. (2019). Strategy and plan of Khlong Chanak Subdistrict Administrative Organization. https://www.klongchanak.go.th/strategy [in Thai]

Konisranukul, W. (2007). The substantive urban design considerations: Priorities for creating successful places. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 5(2), 91-107.

Leeled Subdistrict Administrative Organization. (2019). Local development plan of Lee Led Subdistrict administrative organization (2018-2022). http://www.leeled.go.th/detail.php?id=847 [in Thai]

Lincharearn, A. (2012). Qualitative data analysis techniques. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 17(1), 17-29. [in Thai]

Marshall, C., & Rossman, G. (2006). Doing participatory action research (4th ed.). Sage.

Ministry of Social Development and Human Security. (2017). 20-Years housing development strategy (2017-2036). Ministry of Social Development and Human Security. [in Thai]

Nophaket, N. (2011). Development for a process of community-active planning: A case of Prik municipality’s landscape master plan. Thai Health Promotion Foundation. [in Thai]

Phongphanich, N. (2019, March 26). Interviewed by P. Kerdphol [Tape recording]. Village Headman of Moo 4, Khlong Chanak Subdistrict, Muang District, Surat Thani Province.

Phongphanich, N. (2019, March 2). Interviewed by P. Salee [Tape recording]. Village Headman of Moo 2, Leeled Subdistrict, Phunphin District, Surat Thani Province.

Phongphanich, N., Srifa, S., & Pongpichitchai, C. (2020). Guidelines for a rehabilitation of old community on a small island: A case study of Koh Rat, Donsak District, Surat Thani Province, Thailand. University of the Thai Chamber of Commerce Journal Humanities and Social Sciences, 40(4), 141-169. [in Thai]

United Nations Human Settlements Programme. (2007). People’s process in post-disaster and post-conflict recovery and reconstruction: Community action planning. Regional Office for Asia and the Pacific.