การประยุกต์ใช้แผนภูมิการไหล IDEF0 ในโลจิสติกส์ย้อนกลับเพื่อการจัดการซัพพลายเชน

Main Article Content

วรเศรษฐ์ อุดมสิน

บทคัดย่อ

โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) มีบทบาทในการดำเนินงานของการจัดการซัพพลายเชนเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากทางด้านสินค้าและการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ในกระบวนการไหลสินค้าย้อนกลับจะเริ่มต้นจากลูกค้า ตัวแทน/ผู้จัดจำหน่าย คลัง/ศูนย์กระจายสินค้ากลับสู่โรงงานผลิตเพื่อทำการซ่อมแซมซึ่งชิ้นส่วนที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้จะถูกนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลกลับไปเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตต่อไปหรือมีการกำจัดให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด


การพัฒนาโลจิสติกส์ย้อนกลับผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญนอกจากการกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อสร้างความชัดเจนในการปฏิบัติงานแล้ว จะต้องมุ่งหวังในการสร้างระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการที่มีระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับที่ดีจะส่งผลต่อองค์กรหลายประการ เช่น การได้ข้อมูลปัญหาจากลูกค้านำมาพัฒนาสินค้า การได้วัตถุดิบกลับมาผลิตสินค้า การลดและคัดแยกขยะที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการส่งคืนสินค้า การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เป็นต้น


ในบทความนี้นำเสนอ “แผนภูมิการไหล IDEF0” เป็นการเขียนแผนภาพกระบวนการทางธุรกิจ (BPN) รูปแบบหนึ่งซึ่งมีประโยชน์หลายประการต่อการจัดการซัพพลายเชนและการออกแบบโลจิสติกส์ย้อนกลับในองค์กร เช่น นำไปใช้การสร้าง วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาการทำงานในกิจกรรมต่าง ๆ มีการประยุกต์ใช้ทรัพยากรและเครื่องมือต่าง ๆ ในกิจกรรมมีความเหมาะสม ลดความสูญเปล่าในกระบวนการดำเนินงานและลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงานได้ในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Buede, D. (2009). The engineering design of system (Model & Method) (2nd ed.). John Wiley & Son, Inc.

Division Department of Industrial Work. (2011). A guideline of good practice for Industrial waste treatment and disposal services. http://webintra.diw.go.th/iwmb/form/factory1.pdf [in Thai]

Du, F., & Evan, G. (2007). A bi-objective reverse logistics network analysis for post-sale service. Journal of Computers & Operation Research, (35), 2617-2634. http://doi.org/10.1016/j.cor.2006.12.020

Keyvanshokooh, E., Fattahi, M., Seyed-Hosseini, S., & Tavakkoli-Moghaddam, R. (2003). A dynamic pricing approach for returned products in integrated forward/reverse logistics network design. Journal of Applied Mathematical Modeling, 37, 10182-10202. https://doi.org/10.1016/j.apm.2013.05.042

Kim, S., & Jang, K. (2002). Designing performance analysis and IDEF0 for enterprise modelling in BPR. International Journal of Production Economics, 76(2), 121-133. https://doi.org/10.1016/S0925-5273(00)00154-7

Krumwiede, D., & Sheu, C. (2002). A model for reverse logistics entry by third-party providers. The International Journal of Management Science, 30, 325-333. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S030504830200049X

Mangla, S., Govindan, K., & Luthra, S. (2016). Critical success factors for reverse logistics in Indian industries: A structural model. Journal of Cleaner Production, 129, 608-621. https://doi.org/10.1016/j.apm.2013.05.042

Moreno, M., Turner, C., Tiwari, A., Hutabarat, W., Charnley, F., Widjaja, D., & Mondini, L. (2017). Re-distributed manufacturing to achieve a circular economy: A case study utilizing IDEF0 modeling. Procedia CIRP, 63, 686-691. http://doi.org/10.1016/j.procir.2017.03.322

Shue, J. (2007). A coordinated reverse logistics system for regional management of multi-source hazardous wastes. Journal of Computers & Operation Research, 34, 1443-1462. http://doi.org/10.1016/j.cor.2005.06.009

Waissi, G., Demir, M., Humble, J., & Lev, B. (2015). Automation of strategy using IDEF0—A proof of concept. Journal of Operations Research Perspectives, 2, 106-113. http://dx.doi.org/10.1016/j.orp.2015.05.001