การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักศึกษาครู และ 2) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยใช้การวิจัยและพัฒนากลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชา EDUC1102 ปรัชญาการศึกษาและเศรษฐกิจพอเพียง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำานวน 2 หมู่เรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมฯ 2) แบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาครูต่อการอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมี 9 องค์ประกอบ ดังนี้ แนวคิดพื้นฐานหลักการ จุดมุ่งหมาย สาระการเรียนรู้ ระยะเวลา โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรมกระบวนการจัดกิจกรรม สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 2) การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมฯ ได้ผลดังนี้ 2.1) ทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครูหลังอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครูหลังอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.3) นักศึกษาครูมีความพึงพอใจต่อการอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of bloom’s taxonomy of educational objectives: Complete edition. Longman.
Conklin, W. (2012). Higher-order thinking skills to develop 21st century learners. http://www.amazon.com
Edwards, S. (2016). Active learning in the middle grades classroom. Association for middle-level education. http://www.amazon.com
Fakkao, S., & Singharaj, A. (2020). Teacher as instructional designer in 21st century. Panyapiwat Journal, 12(2), 302-315. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/203300/167754 [in Thai]
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2010). Additional biology teacher’s handbook. Mathayomsuksa 4, science learning group according to the core curriculum Basic Education, 2008. SVK Printing House. [in Thai]
National Research and Innovation Policy Council. (2017). (Draft) 20-year research and innovation strategy (2017-2036). Cocoon and Co., Ltd. [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Board. (2018). National Strategy 2018-2037. National Strategy Secretariat Office. [in Thai]
Preparatory Meeting for Rajabhat University. (2019). Strategies for development to achieve local goals for 20 years (2017-2036) (revised edition 11, issue 2018). Seminar Office. [in Thai]
Saifer, S. (2018). HOT skills: Developing higher-order thinking in young learners. http://www.amazon.com
Saylor, G. J., Alexander, M. W., & Lewis, J. A. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning. Holt-Saunders.
Seekheio, D., Wangphasit, L., & Chuechai, S. (2022). Development of teacher training curriculum for enhancing teachers elementary’s instructional design competencies to enhancing the student’s ability. Humanity and Social Science Journal Ubon Ratchathani University, 13(1), 223-247. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/252645/172660 [in Thai]
Singharaj, A. (2020). Learning management for enhancing critical thinking ability and habits of mind for undergraduate students at the faculty of education, Chandrakasem Rajabhat University. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 17(1), 349-360. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/252110/170248 [in Thai]
Singharaj, A., & Fakkao, S. (2022). New roles for educators in disruption world. Thammasat Journal, 41(1), 242-261. http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detailart.aspx?ArticleID=7937 [in Thai]
Sitti, N. Q., Rahayu, S., Fajaroh, F., & Alsulami, M. N. (2021). The effect of implementation of inquiry-based learning with socio-scientific issues on students’ higher-order thinking skills. Journal of Science Learning, 4(3), 210-218. https://www.researchgate.net/publication/357092711 [in Indonesia]
Thongthiya, K., & Suthasinobon, K. (2021). A development of higher-order thinking: Important intellectual abilities for the new normal. Journal of Education Silpakorn University, 19(2), 28-44. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/254396/171298
[in Thai]
United Nations Education, Scientific and Cultural Organisation [UNESCO]. (2020). Sustainable development goals: Take action on the goals. https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/
World Economic Forum. (2020). The future of jobs report 2020. World Economic Forum.