แนวทางการบริหารจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

เศรษฐภูมิ เถาชารี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2) วัดระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อองค์ประกอบของโลจิสติกส์การท่องเที่ยว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) วัดระดับความพร้อมของชุมชนที่มีต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) เสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาการจัดการโลจิสติกส์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี คือ นักท่องเที่ยวยังขาดการรับรู้ข้อมูลทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว และขาดความสะดวกและความเพียงพอของการชำระสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิต นอกจากนี้ในส่วนของคนในชุมชนยังพบว่า ขาดการมีส่วนร่วมในการพิจารณาถึงประโยชน์ หรือผลกระทบที่จะได้รับจากการจัดการท่องเที่ยวด้านโลจิสติกส์ และคนในท้องถิ่นยังขาดการได้รับ ข่าวสารเกี่ยวกับร้านอาหาร 2) ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อองค์ประกอบของโลจิสติกส์การท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าน้อยที่สุดคือ ด้านการไหลทางการเงิน ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มีอาชีพและระดับการศึกษาต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อองค์ประกอบของโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในด้านการไหลทางการเงิน มีค่าความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 3) ระดับความพร้อมโดยรวมของชุมชนที่มีต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าน้อยที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมโดยชุมชนที่มีอายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน จะได้รับการจัดอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา ฟื้นฟู และการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น มีค่าแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และ 4) แนวทางการบริหารจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี คือ ในส่วนของนักท่องเที่ยวควรมุ่งเน้นบริหารจัดการด้านการไหลทางการเงินตามอาชีพและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ส่วนชุมชนควรมุ่งเน้นบริหารจัดการด้านการมีส่วนร่วมตามอายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของชุมชนเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bua-in, N., & Sawatenarakul, N. (2019). Improving the efficiency of tourism logistics components in Phra Nakhon Si Ayutthaya. Chiang Mai University Journal of Humanities, 20(3), 125-150. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/185689/159264

Bunrasri, S. (2022). The management model for sustainable development of Lampaya Community of Yala Province in the future [Doctoral dissertation]. Yala Rajabhat. [in Thai]

Chaichan, T. (2012). Tourism logistics management for Wang Nam Kiew District in Nakhon Ratchasima Province. Suranaree University of Technology. [in Thai]

Charunsrichotikomjorn, W., Munha, S., Charoensuwan, K., Sripirom, K., Warang Rammabut, W., & Sangngam, C. (2017). The efficiency of logistics management for tourist attraction in Kamphaeng Phet Province. Journal of Modern Management Science, 10(2), 213-229. https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/25302018-07-07.pdf

Dhurakij Pundit University. (2019). Koh Kret Nonthaburi Province. https://www.dpu.ac.th/dpuplace/ [in Thai]

Kanchula, C. (2020). Factors Influencing the willingness to retouring: A case study of Koh Kret Nontaburi Province. Journal of Sustainable Tourism Development, 2(1), 13-33. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSTD/article/view/254911

Lomprakhon, C., Uawongtrakul, C., & Limpremwattana, V. (2014). The marketing mix and tourist behavior to Ko Kret, Nonthaburi Province. Sripatum Chonburi Academic Journal, 11(1), 51-57. https://www.chonburi.spu.ac.th/journal/booksearch/upload/1351-08_themarketing.pdf

Manirochana, N. (2017). Community based tourism management. International Thai Tourism Journal, 13(2), 25-46.

Ministry of Industry. (2019). Logistics. https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-07-21-16-50-25 [in Thai]

Moayerian, N., McGehee, G. N., & Stephenson, O. M. (2022). Community cultural development: Exploring the connections between collective art making, capacity building and sustainable community-based tourism. Annals of Tourism Research, (93), 103355.

https://doi.org/10.1016/j.annals.2022.103355

Pongwiritthon, R., & Pakvipas, P. (2013). Guidelines for sustainable tribe cultural tourism development. Journal of Community Development Research, 6(1), 42-60. https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/507/464

Rosa, P., Bento, P., & Teotónio, T. (2022). The internal competitive advantage of adventure tourism operators: An exploratory approach. Journal of Outdoor Recreation and Tourism, (39), 100555. https://doi.org/10.1016/j.jort.2022.100555

Wanarat, S. (2021). Influence of logistics innovation towards firm performance of logistics service providers in Thailand: A structural equation modeling. Journal of Business Administration, 44(171), 51-74. http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba171/Article/JBA171Sawat.pdf

Watanaputi, A., Sansook, J., Boonannwong, C., & Chotworakan, A. (2023). Tourism logistics management influencing logistics performance and loyalty of tourisms in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Modern Management Journal, 18(2), 15-29. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/241272