คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ทางธุรกิจ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้คำถามในการสัมภาษณ์สำหรับการเก็บข้อมูลแบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้างานและพนักงานบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทต่างๆ ในเครือจำนวน 141 คน โดยสรุปผลได้ว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กรในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.82 บุคลากรต้องสามารถนำความรู้ภาษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้เพื่อติดต่อสื่อสารในการทำงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมได้ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.62 และบุคลากรต้องมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรมทั้งด้านส่วนตัวและส่วนรวมโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67
Abstract
This research aimed at studying the importance of English to business sectors and the desired characteristics of graduates. This is a mixed research design employing both the quantitative and qualitative methodologies. For quantitative research, questionnaires were used as the data collection tool; while for qualitative research, an in-depth interview was used. The sample group consisted of 141 heads of departments and employees of CP All Public Co., LTD. and its affiliated companies. The study found that English was the important mean for any company for joining the upcoming Asean Economic Community with the average mean of 4.82. Employees must be able to apply the knowledge of English to communicate with government sector, private sector and industrial sector, with the average mean of 4.62. Employees should have good attitudes toward their organization. They should have virtues and morality to themselves and others, with the average mean of 4.67.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กฤตยา ฐานุวรภัทร์. (2555). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สำหรับสถานประกอบการ กรณีศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2557, จาก http://research.northcm.ac.th/attachments/summary_project/130325110936.pdf
ชูชัย สมิทธิไกร. (2547). ลักษณะบุคลิกภาพและความสำเร็จในการทำงานของบุคคลในหลายอาชีพ. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์ : ระบบพฤติกรรมไทย, 1(2), 115-135.
จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล. (2553). บริหารคนเหนือตำรา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ Bizbook.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2558, จาก http://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/files_download/2014-04-10 ทักษะแห่งศตวรรษที่%2021%20เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.pdf
มารดารัตน์ สุขสง่า. (2554). ขีดความสามารถหลักที่พึงประสงค์ในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรขององค์กรชั้นนำในประเทศไทย กรณีศึกษาบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศิริวรรณ สิริพุทไธวรรณ. (2547). คุณลักษณะของบัณฑิตที่มีผลต่อการจ้างงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัยทักษิณ. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2557, จาก http://www2.tsu.ac.th/coop/files/bandit.doc
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. (2557). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.pim.ac.th/th/pages/about_us
Translated Thai References
Itthiarvatchakul, J. (2010). How to manage People Successfully. Bangkok: Bizbook. [in Thai]
Laohajarassang, T. (2013). Twenty First Century Skills for developing Chiangmai University’s Instructors. Retrieved January 10, 2015, from http://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/files_download/2014-04-10ทักษะแห่งศตวรรษที่%2021%20เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.pdf [in Thai]
Panyapiwat Institute of Management. (2014). About Us. Retrieved February 15, 2015, from http://www.pim.ac.th/th/pages/about_us [in Thai]
Smithikrai, C. (2004). Personalities and Success of People in Various Occupations. Journal of Psycho-Behavioural Science: Thai Behavioural System, 1(2), 115-135. [in Thai]
Siripoothaiwan, S. (2004). Characteristics of TSU Graduates Affecting Job Employment Opportunities.Retrieved September 25, 2014, from http://www2.tsu.ac.th/coop/files/bandit.doc [in Thai]
Suksanga, M. (2011). Core Competencies Desirable for Recruitment and Selection of Leading Organization in Thailanda Case Study of TheSiam Comment Public Company Limited. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai]
Thanuvorapat, K. (2012). Preferable Qualifications of the English for Communication Graduates, Faculty of Social Sciences and Liberal Arts, North-Chiang Mai University. Retrieved September 25, 2014, from http://research.northcm.ac.th/attachments/summary_project/130325110936.pdf [in Thai]