การจัดทำบริการสาธารณะท้องถิ่น การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายและการประหยัดจากขนาด: กรณีศึกษาเทศบาลนครและเทศบาลเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาการจัดทำบริการสาธารณะท้องถิ่นและการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของเทศบาลนครและเทศบาลเมือง จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) หน่วยวิเคราะห์ประกอบไปด้วย 25 เทศบาลนคร และ 126 เทศบาลเมืองอันมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีการแบ่งงบประมาณออกเป็น 5 หมวดกิจกรรมหลัก ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การดูแลผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ เด็กและการจัดการศึกษา การจัดการสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ (เช่น การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เพื่อตอบสนองความต้องการบริการสาธารณะของคนในท้องถิ่นผู้วิจัยนำข้อมูลด้านจำนวนงบประมาณ และสัดส่วนของเงินงบประมาณมาวิเคราะห์ และผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ก) รายจ่ายต่อหัวเปรียบเทียบระหว่างเทศบาลนครและเทศบาลเมือง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (t-test = -0.9620) ข) สัดส่วนรายจ่ายบริการสาธารณะ 5 ประเภทต่อรายจ่ายรวมแตกต่างกันระหว่างเทศบาลนครและเทศบาลเมือง ค) มีการประหยัดจากขนาดโดยวัดจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อ ขนาดของเทศบาลเพิ่มขึ้น ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Mean Comparison Test) และสมการถดถอยแบบ Robust (Robust Regression) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรประชากร (0.72) พร้อมรายงานต้นทุนส่วนเพิ่ม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Anderson, E., Jalles D’Orey, M., Duvendack, M., & Esposito, L. (2017). Does government spending affect income inequality? A meta-regression analysis. Journal of Economic Surveys, 31(4), 961-987.
Boonkob, P. (2014). Local innovation of expenditure spending budget formulation for local development: A case study of Muang Municipality of Sisaket. Governance Journal, 3(2), 56-70.
Languille, S. (2019). The politics of the education budget: Financing mass secondary education in Tanzania (2004-2012). International Journal of Educational Development, 66, 96-104.
Office of the Decentralization to the Local Government Organization Committee. (2021). The results of the assessment of the minimum standards for the provision of public services of local government organizations 2021. Offce of the Decentralization to the Local Government Organization Committee, Office of the Permanent Secretary.
Patmasiriwat, D. (2020). Economies-of-Scale in local administration and the potential analysis of local amalgamation. King Prajadhipok’s Institute.
Purwanto, E., & Agus, P. (2018). Decentralization and functional assignment in Indonesia: The case of health and education services. Policy Studies, 3(6), 589-606.
Said, M., Supriyono, B., Muluk, M., & Haryono, B. (2020). The trade-offs budget of archipelagic local government in Indonesia. Australasian Accounting, Business and Finance Journal, 14(1), 58-70.