การเรียนการสอนรูปแบบ Work-based Education กับภาพลักษณ์ของบัณฑิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของบัณฑิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ผ่าน การเรียนการสอนรูปแบบ Work-based Education เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ในด้านการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพจนเกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดี โดยมีแหล่งข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิตที่เป็นนายจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างานที่มีผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จํานวน 9 คณะ สาขาวิชาละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 22 คน โดยเป็นการศึกษา เชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิตของแต่ละสาขาวิชา
ผลการวิจัยพบว่า การเรียนการสอนรูปแบบ Work-based Education สามารถสร้างอัตลักษณ์ของบัณฑิตให้เป็นไปในทิศทางที่สถาบันฯ พึงประสงค์ได้ โดยมีภาพลักษณ์ปัจจุบันสะท้อนอัตลักษณ์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ทํางานเป็น เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุด เนื่องจากผู้ใช้บัณฑิตให้ความสําคัญกับการนําความรู้ความสามารถทางวิชาชีพมาปรับใช้กับการทํางานจริงมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ 2) เรียนเป็น 3) คิดเป็น อันเป็นพื้นฐานของการทํางานเป็น 4) เน้นวัฒนธรรม และ 5) รักความถูกต้อง ตามลําดับ การที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานหลายครั้งผ่านการเรียนการสอนรูปแบบ Work-based Education นั้น สามารถสะท้อนให้เห็นว่าบัณฑิตมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการ และสะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่คาดหวัง (Wish Image) ที่ผู้ใช้บัณฑิตปรารถนา ให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถสอดคล้องกับวิชาชีพในสายงาน เพื่อให้บัณฑิตพร้อมทํางาน พร้อมปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และไม่หยุดที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อร่วมขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Jefkins, F. (1993). Planned press and public relations (3rd Ed.). Alden Press.
Kasemsuk, C. (2008). The effectiveness of using human media in public relations to create the image of private higher education institutions. Sripatum University. [in Thai]
Kotler, P. (2000). Marketing management (10th Ed.). Prentice-Hall Inc.
Leelawat, C. (2016). Developing graduates to become professionals: A case study of Sripatum University. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 483-500. [in Thai]
Monwises, S. (2016). The perception of popular celebrities in Thailand through social media online of generation Y. Chulalongkorn University. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55722 [in Thai]
National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. (2019). A survey of working conditions of population 2019. National Statistical Office. [in Thai]
National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society. (2021). Survey of working conditions of population throughout the kingdom quarter 2 April-June 2021. National Statistical Office. [in Thai]
Office of the President and Sustainability Administration, Panyapiwat Institute of Management. (2021). PIM Ready to Work by Work-based Education. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1330 [in Thai]
Robinson, C., & Barlow, W. (1959). Image public relations. Public Relations Journal, 15, 10-13.
Sakworawit, A. (2016). Will Thai universities survive? http://m.manager.co.th/Daily/detail/9590000051896 [in Thai]
Sennok, M. (2013). Company image and marketing mix strategies affecting purchasing decisions new brand of soft drink products of consumers in Bangkok: A case study of S brand soft drink products of Sermsuk Public Company Limited [Master’s thesis]. Burapha University. [in Thai]
Sumetthikom, N., Yamjinda, A., & Wongbunngam, B. (2008). Real and desirable image graduate’s wishes Rajamangala University of Technology Phra Nakhon according to the opinion of the establishment. https://ph02.tcithaijo.org/index.php/RMUTP/article/view/4478 [in Thai]
Suthmanon, L., Boonyasrirat, M., & Wattanavet, D. (2018). Learning from real experiences, new choice of higher education in Thailand Work-based Education (2nd ed.). Bookdance Studio Publisher. [in Thai]
Wichiranon, S., Arunreung, A., & Kaewlai, J. (2017). The desirable characteristics of English for international communication graduates from the viewpoints of employers. Communication Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. [in Thai]