การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 337 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน ตัวแปรในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง จำนวน 4 ตัว ได้แก่ ความรู้ทางสิ่งแวดล้อม เจตคติต่อพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ความตั้งใจที่จะกระทำเพื่อสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แบบสอบถามเจตคติต่อพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แบบสอบถามความตั้งใจที่จะกระทำเพื่อสิ่งแวดล้อม และแบบสอบความรู้ทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93, 0.93, 0.97 และ 0.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง
บรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 83.82 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 72 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.161 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.022
2.ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม คือ ความตั้งใจที่จะกระทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม คือ ความรู้ทางสิ่งแวดล้อม และเจตคติต่อพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ เจตคติต่อพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ ตั้งใจที่จะกระทำเพื่อสิ่งแวดล้อม และน้อยที่สุดคือ ความรู้ทางสิ่งแวดล้อม
สำหรับผลการวิจัยที่พบว่า เจตคติต่อพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งใจที่จะกระทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ความรู้ทางสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบายของสถานศึกษา ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมาย และประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสร้างหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
ธีระพร อุวรรณโณ. (2546). เจตคติ : การศึกษาตามแนวทฤษฎีหลัก. กรุงเทพมหานคร : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระพร อุวรรณโณ. (2557). เจตคติ. เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาและสังคมวิทยาพื้นฐานเพื่อการแนะแนว : หน่วยที่ 9. หน้า 2-80. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรรณี บุญประกอบ และจรัล อุ่นฐิติวัฒน์. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องลักษณะทางจิตสังคมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (เล่ม 1) : แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.
Alp, E., et al. (2006). A Statistical Analysis of Childen’s Environmental Knowledge and Attitudes in Turkey. International Research in Geographical and Environmental Education. 15(3) : 210-223.
Braus, J.A., & Wood, D. (1993). Environmental Education in the Schools: Creating a Program that Works. Washington, DC : Peace Corps Information Collection and Exchange.
Fielding, K.S., & Head, B.W. (2012, April). Determinants of Young Australians’ Environmental Actions: the Role of Responsibility Attributions, Locus of Control, Knowledge and Attitude. Environmental Education Research. 18(2) : 171-186.
Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to Theory and Research. MA : Addison-Wesley.
Hwang, Y.H., Kim, S.I., & Jeng, J.M. (2000). Examining the Causal Relationships Among Selected Antecedents of Responsible Environmental Behavior. The Journal of Environmental Education. 31(4) : 19-25.
Levine, D.S., & Strube, M. (2012). Environmental Attitude, Knowledge, Intentions and Behaviors among College Students. The Journal of Social Psychology. 152(3) : 308-326.
Hair, et al.(2010).Multivariate Data Analysis. New Jersey : Pearson Education.
Hines, J.M., Hungerford, H.R., &Tomera, A.N. (1986-87). Analysis and Synthesis of Research on Public Responsible Environmental Behavior : A Meta-Analysis. [On-line]. Available : https://www.d.umn.edu/~kgilbert/educ5165731/Readings/Analysis%20&%20Synthesis%20of%20Research%20on%20Responsible%20Env%20Behavior.pdf [2016, December 17].
Hungerford H.R., & Volk, T.K. (1990). Changing Learner Behavior Through Environmental Education. [On-line]. Available : http://www.cbtrust.org/atf/cf/%7BEB2A714E-8219-45E8-8C3D50EBE1847CB8%7D/Changing%20learner%20behavior%20-%20H%20and%20V.pdf [2016, December 20].