แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน

Main Article Content

ยินดี ชาญณรงค์
ดร.วราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พร
ศ.ดร.สมบูรณ์ สุขสำราญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันในปัจจุบัน และวิเคราะห์ปัจจัยอุปสรรคและปัจจัยสนับสนุน ในการบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ตลอดจนแสวงหาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดย ศึกษาจากเอกสาร (Documentary Study) และการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 25 คนนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันที่ควรจะเป็น  จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจัดสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 9 คน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์นำไปสู่การสร้างแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน


                             การบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในฝั่งทะเลอันดามันปัจจุบันโดยหลักทั่วไปมีคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดระเบียบและเงื่อนไขการกู้และมีอำนาจบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่และสามารถกำหนดนโยบายการบริหารจัดการสินเชื่อให้เป็นไปได้ทุกทิศทาง การบริหารจัดการสินเชื่อจะมีระบบหรือไม่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการดำเนินการ โดยยึดหลักการบริหารจัดการแบบ Good Governance ปัญหาในการบริหารจัดการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน คือ การบริหารแบบประชานิยม ขาดระเบียบ หลักเกณฑ์เงื่อนไข ปัญหาเงินเดือนเหลือไม่พอหัก ณ.ที่จ่าย วงเงินให้กู้แก่สมาชิกสูงเกินไป ขาดการบริหารความเสี่ยง สมาชิกขาดวินัยทางการเงิน ขาดระบบการเรียนรู้ในการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์สู่มาตรฐานสากลที่สำคัญคือผลกระทบจากนโยบายรัฐที่ก่อให้เกิดการแข่งขันด้านการให้สินเชื่อจนส่งผลกระทบต่อวินัยทางการเงินของสมาชิกและการมีหนี้หลายทางส่งผลโดยตรงต่อสภาพคล่องในการบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน


แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ควรเป็นกระบวนการเริ่มตั้งแต่ ต้นน้ำ คือ ต้นทางของกระบวนการพิจารณา ในการรวบรวมข้อมูลของสมาชิก ขั้นตอนการตรวจสอบก่อนการอนุมัติสินเชื่อของคณะกรรมการปล่อยสินเชื่อ การตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อโดยคณะกรรมการสินเชื่อการพิจารณาเพื่อการอนุมัติสินเชื่อและการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการปล่อยสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู กลางน้ำ คือ กระบวนการบริหารสินเชื่อหลังจากการอนุมัติสินเชื่อการติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์ของการกู้ การวางกลยุทธ์การติดตามหนี้ค้างชำระ หนี้สงสัยจะสูญของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และแก้ไขปัญหาสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูย้ายออกนอกแดนไม่มีตัวตนและปฏิเสธหนี้ ปลายน้ำ เป็นขั้นตอนการบริหารเงินที่ต้องส่งคืนสหกรณ์ของสมาชิก การแก้ปัญหาสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเป็นหนี้หลายทาง การแก้ปัญหาไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย(สมาชิกเสียชีวิต หนี้ขาดอายุความตามกฎหมาย)และการบังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา คณะกรรมการดำเนินการต้องยึดหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัด ลดการใช้ระบบประชานิยมเปลี่ยนทัศนคติใหม่ในการดำเนินการ กรรมการจะต้องศึกษาหาความรู้ในข้อกฎหมายเพื่อได้พัฒนาสหกรณ์ ต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนปล่อยกู้อย่างเข็มงวด ต้องมีการวิเคราะห์การปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบและต้องจัดอบรมให้ความรู้กับสมาชิกในการให้กู้เพื่อปลูกฝังให้สมาชิกมีวินัยทางการเงิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑาทิพย์ ภัทราวาท (2554)และคณะสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย “แนวทางการพัฒนาระบบการเงินที่เกื้อหนุนการพึ่งพาตนเองและร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เสนอต่อชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด.

เจษฎา นกน้อย (2554) การจัดการความหลากหลายในองค์กร : ตัวแบบทางด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเท่าเทียมกันของผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงพร หัชชะวณิช และ บัญชา ชลาภิรมย์ (2554 ) โครงสร้างขบวนการสหกรณ์ไทย วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2554.

เดชาวุธ เจ๊ะเต๊ะ (2550) การพัฒนารูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ ในทศวรรษหน้า กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ ภาคใต้ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ประสพชัย พสุนนท์ สุดา ตระการเถลิงศักดิ์ วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ พิทักษ์ ศิริวงศ (2559) ทฤษฎีฐานรากของความหมายและ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพของการดำเนินงาน สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปศาสตร์.

สรายุทธ โตพันธ์ (2553) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสหกรณ์ การเกษตรเมืองเลย จำกัด : วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกระบี่ จำกัด (2556). รายงานประจำปี 2556. รุ่งโรจน์ การพิมพ์: เมืองกระบี่ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกระบี่ จำกัด.

สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดพังงา จำกัด (2556) รายงานประจำปี 2556 สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดพังงา จำกัด.

สหกรณ์ออมทรัพย์ครูภูเก็ต จำกัด (2556) ข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูภูเก็ต จำกัด แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 5) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูภูเก็ต จำกัด.

Clement Ooko Olando, Ambrose Jagongo, Martin O. Mbewa (2013 )The Contribution of Sacco Financial Stewardship to Growth of Saccos in Kenya Department of Accounting and Finance Kenyatta University Kenya.

Denzin and Lincoln ( 2008) The landscape of qualitative research. Vol. 1. Sage, 2008.

Joseph John Magali (2013) The Impacts of Credits Risk Management on Profitability of Rural Savings and Credits Cooperative Societies (SACCOS): The Case Study of Tanzania Ph.D. Scholar-Dongbei University of Finance and Economics, International Institute of Chinese Language and Culture, P.O Box 116025, Hei Shi Jiao, Dalian, P.R. China and Assistant Lecturer of the Open University of Tanzania, P. O. Box 23409, Dar es salaam, Tanzania.