แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

จารุวัฒน์ ติงหงะ

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาถึงการบริหารจัดการขยะมูลฝอย  2)ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และ 3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 235 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


            ผลการวิจัยพบว่า 1)การบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตในภาพรวม มีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และด้านการคัดแยกขยะ มีการดำเนินการสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการกำจัดขยะมูลฝอย ส่วนด้านการติดตามประเมินผล มีการดำเนินการต่ำสุด 2)ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ ถังขยะไม่เพียงพอ ยังมีขยะตกค้างไม่มีการคัดแยกขยะ ขาดจิตสำนึกที่ดี ไม่มีนโยบายหรือกฎระเบียบการจัดการขยะ  ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และการจัดเก็บขยะมีความล่าช้า และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คือ กำหนดนโยบายที่ชัดเจน ปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม การคัดแยกขยะ ระบบการเก็บขนขยะ บริหารจัดการกำจัดขยะด้วยวิธีที่เหมาะสม และส่งเสริมให้มีการแปรรูปใหม่ (Recycle) หรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงาน. (2552). 5R ช่วยลดมลพิษขยะ.[Online]. Available http://www. thaihealth.or.th/node/7775 [2559, พฤศจิกายน 11].

เทศบาลนครภูเก็ต. (2558 ). รายงานผลการติดตามและประเมินสมรรถนะระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด. ภูเก็ต : เทศบาลนครภูเก็ต.

ธงชัย ทองทวี. (2553). สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พรรณทิพา พัฒนาภิรัส. (2555).ประสิทธิผลกำจัดขยะมูลฝอยของเทศตำบลเมืองหัวหินตามหลักธรรมาภิบาล.ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, งานกิจการเจ้าหน้าที่. (2560). รายงานจำนวนบุคลากรทั้งหมดของปี. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2560). รายงานจำนวนนักศึกษา. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ยงยุทธ เถื่อนกลาง. (2550). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะชุมชนโดยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

รัตติกาล อินทอง. (2554). การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วสันต์ชาย กลิ่นกลั่น. (2555). ความต้องการของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ : กรณีศึกษา ศูนย์กำจัดขยะแบบครบวงจร จังหวดระยอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการสิ่งแล้ดม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศักดิ์ชาย มุกดาเสถียร. (2551). ความรู้และพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรม. (2550). มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

สำนักสิ่งแวดล้อม. (2558). แนวคิดการจัดการขยะมูลฝอยของนานาประเทศ. Online]. Available : http://www.environnet.in.th/archives/3695 [2559, พฤศจิกายน 11].

อนุศรา สาวังชัย. (2555). ยุทธศาสตร์การจัดการขยะเกาะภูเก็ต กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

Best, John W. (1981). Research in Education (4 th ed.). New Jersey : Prentice -Hall.

Gulick, Luther, and L. Urwick. (1939). Notes on the Theory of Organization in Gulick L.Urwick,L. Paper on The Science of Administration. New York : Institute of Public Administration.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological. 25 (140) : 1–55.