การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการปลูกข้าวเล็บนกปัตตานีของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

กาญจนา ปล้องอ่อน

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและจุดคุ้มทุนการปลูกข้าวเล็บนกปัตตานีของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง และเพื่อศึกษาปัญหาการปลูกข้าวเล็บนกปัตตานีของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง ดำเนินการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เกษตรกรจังหวัดพัทลุง ที่มีพื้นที่การปลูก 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดพื้นที่ 1-10 ไร่ ขนาดพื้นที่ 11-20 ไร่ และขนาดพื้นที่ 21-30 ไร่ แต่ละขนาดพื้นที่เพาะปลูกแยกตามกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และรูปแบบเงินลงทุน ผลการวิจัยสรุปดังนี้


            1) เกษตรกรที่เช่าพื้นที่เพาะปลูกและไม่กู้เงินมาลงทุนปลูกข้าวในพื้นที่ 1-10 ไร่  มีต้นทุนการผลิตและจุดคุ้มทุนสูงที่สุด โดย ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 2,914.05 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 1,419.18 บาทต่อไร่ จุดคุ้มทุนเฉลี่ย 503.26 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 528.32 กิโลกรัมต่อไร่ กำไรเฉลี่ย 72.96 บาทต่อไร่


                2) เกษตรกรที่เช่าพื้นที่เพาะปลูกและกู้เงินมาลงทุนปลูกข้าวในพื้นที่ 11-20 ไร่ มีต้นทุนการผลิตและจุดคุ้มทุนสูงที่สุด โดย ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 2,863.49 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 1,043.97 บาทต่อไร่ จุดคุ้มทุนเฉลี่ย 382.41 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 500.63 กิโลกรัมต่อไร่ กำไรเฉลี่ย 322.86 บาทต่อไร่ 


                3) เกษตรที่เช่าพื้นที่เพาะปลูกและกู้เงินมาลงทุนปลูกข้าวในพื้นที่ 21-30 ไร่       มีต้นทุนการผลิตและจุดคุ้มทุนสูงที่สุด โดย ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 2,782.45 บาท ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 916.54 บาทต่อไร่ จุดคุ้มทุนเฉลี่ย 321.59 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 498.00 กิโลกรัมต่อไร่ กำไรเฉลี่ย 504.13 บาทต่อไร่


                4) สภาพปัญหาการปลูกข้าวเล็บนกปัตตานี พบว่า เกษตรกรร้อยละ 97.64 เห็นว่าปัญหาที่สำคัญมากที่สุด คือ    ค่าปัจจัยการผลิตมีราคาแพง รองลงมาเป็นปัญหาราคาข้าวโดยทั่วไปต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (ร้อยละ 95.80) และผลผลิตต่อไร่ต่ำ (ร้อยละ 88.71)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). รายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืช (รต.01) แบบราย ปี. [Online]. Available HTTP ; http://production.doae.go.th/report/report_main_land_01_A_new 2.php [2556, พฤศจิกายน 28]

กรรณิกา มุขตา. (2555) กำเนิดข้าวเล็บนก. [Online]. Available
HTTP : http://tonpocity.blogspot.com/2012/08/blog-post.html. [2556, พฤศจิกายน 28]

เกรียงไกร มายประเสริฐ. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทน ระหว่างการปลูกข้าวหอมมะลิกับข้าวสุพรรณบุรีในอำเภอขาณุวรลักษ บุรี จังหวัดกำแพงเพชร. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัจจ์ชัญสา หาญคำ. (2554). การวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุน ความสามารถในการ หากำไรและการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจากการปลูกข้าวด้วยปุ๋ยเคมีและปุ๋ย อินทรีย์ กรณีศึกษา อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. (การบัญชี). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.

ต่อศักดิ์ นิยะมาศ. (2548). ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวอินทรีย์ของ สมาชิกกลุ่มเกษตรกร หมู่บ้านดอน เจียงตำบลสบปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (การจัดการ อุตสาหกรรมเกษตร). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2554). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว.

วันเพ็ญ ทุนมาก.(2547). ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวญี่ปุ่นของ เกษตรกรในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. ค้นคว้าอิสระบัญชี มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง. (2555). การผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด พัทลุง. พัทลุง.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2558. [Online]. Available HTTPhttp://www.oae.go.th/download/download_journal/2559/yearboo k58.pdf [2559, กันยายน 28]

เอกพจน์ วรรธนเลปกร. (2555). เศรษฐกิจการผลิตและการตลาดข้าวเปลือกใน จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.