การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์และผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมผ่านความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ 3 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการ 2) ด้านผลตอบแทน และ 3) ด้านปฏิสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์และผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม โดยผ่านตัวแปรกลาง คือ ความผูกพันด้านองค์การด้านจิตใจ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลกับอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจำนวน 330 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ 3 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ ด้านผลตอบแทน ด้านปฏิสัมพันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การด้านกระบวนการ ด้านผลตอบแทน ด้านปฏิสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ สำหรับความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์ และผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม พฤติกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ เป็นตัวแปรกลางในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การและพฤติกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์ และผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม
ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดการรูปแบบการทำงาน วางแผนพัฒนาบุคลากร การจัดการด้านบุคลากร ที่สนับสนุนให้บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรมีพฤติกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์และการสร้างผลงานเชิงนวัตกรรมการปฏิบัติงาน อันส่งผลดีต่อองค์การในอนาคต
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2557). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามลดา.
คัชพล จั่นเพชร และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ (2559). อิทธิพลของการรับรู้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ผ่านความไว้วางใจบนพื้นฐานอารมณ์ความรู้สึกและความรู้ความเข้าใจ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 11(1) (มกราคม-มิถุนายน 2559) : 125-135.
ปริญญา หล่มเหลา. (2559). การรับรู้การสนับสนุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิก ที่ดีขององค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงาน บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) จังหวัดสระบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8(2), (เมษายน-มิถุนายน) : 157-170.
ปาริชาติ ปานสำเนียง. (2555). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้ ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ต่อองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรทิพย์ ไชยฤกษ์. (2555). ความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากร สถาบันวิจัยแสงซินโคร-ตรอน (องค์การมหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ภูวนาถ วิสุทธากร และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมของบุคลากร สายสนับสนุนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(1), (มกราคม-เมษายน) : 1012-1031.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2559). วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และนโยบาย มหาวิทยาลัย. [On-line]. Available : https://www.rmutt.ac.th/about/about-rmutt/vision [2559, ธันวาคม 14]
เมษา เจริญโชควิทยา. (2557). การรับรู้ความสัมพันธ์ในองค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรผ่านความผูกพันด้านจิตใจต่อองค์กรของพนักงาน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฝ่ายภาคใต้และภาค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาประกอบการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งณภา สีทะ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมในองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ปริญญารัฐประสาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรางคนา ชูเชิดรัตนา. (2558). แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์กร และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิวนันท์ ศิวพิทักษ์. (2554). การจัดการนวัตกรรมขององค์กรธุรกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน. ดุษฎีนิพนธ์ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิวพร โปรยานนท์. (2554). พฤติกรรมของผู้นำและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์ในงานของบุคลากร : กรณีศึกษาองค์การธุรกิจไทยที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมปี 2552. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒน- บริหารศาสตร์.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2559). นวัตกรรม. [On-line]. Available : http://www.nia.or.th/spring/ index.php? page=faq [2017, January 17]
สุดารัตน์ ธีรธรรมธาดา. (2557). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ และความฉลาดทางอารมณ์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
หทัยกร กิตติมานนท์ และสมอาจ วงษ์ขมทอง (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานของบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพสังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในประเทศไทย.วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 9(2), (เมษายน-กันยายน) : 70-82.
อาภานรี สื่อสุวรรณ. (2555). อิทธิพลในการทำงานของปัจจัยของค่าตอบแทนและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร กรณีศึกษา บุคลากรทางพยาบาลโรงพยาบาลราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Allen, Natalie. J., and Meyer, John. P. (1990). "The Measurement and Antecedents of Affective, Continaunce and Normative to the Organizations. Commitment to the Organizations.” Journal of Occupational Psychology, 63, 1 (March) : 1-18.
Cook, Peter. (1998). The Creativity Advantage is Your Organization the Leader of the Pack?. Industrial and Commercial Training, 30, 5 : 179–184.
De Jong, P. (2008). Innovative Work Behavior: Measurement and Validation. EIM Business and Policy Research. Zoetermeer The Netherlands.
Folger and Cropanzano. (1998). Organizational Justice and Human Resource Management. Thousand Oaks, CA : Sage.
Gilliland, Stephen W., and Langdon, Jeffrey C. (1998). Creating Performance Management System That Promote Perceptions of Fairness. San Francisco : Jossey-Bass.
Greenberg, J.(1990). “Organizational Justice : Yesterday, Today and Tommorrow.” Journal of Management, 16 : 399-432.
Kleysen Robert .F, and Street Christopher T. (2001) "Toward a multi‐dimensional measure of individual innovative behavior", Journal of Intellectual Capital, 2, 3 : 284-296.
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
Menard, Scott. (1995). Applied Logistic Regression Analysis. Newbury Park: Sage Publications.
Meyer, John. P., Allen, Natalie. J., and Gellatly, Ian. R. (1990). “Affective and continuance commitment to the organization: Evaluation of measures and analysis of concurrent and time-lagged relations.” Journal of Applied Psychology, 75, 6 (December) : 710-720.
Singer, M. (1993). Fairness in Personnel Selection : An Organizational Justice Perspective. Aldershot : Avebury.
Steers, R.M., and Porter, L.W. (1983). Motivation and Work Behavior. 3rd ed. New York : McGraw–Hill.
Terje Slatten and Mehmet Mehmetoglu. (2011). “Antecedents and effects of engaged frontline employees: A study from the hospitality industry.” Managing Service Quality: An International Journal, 21, 1 : 88-107.
William G. Castellano. (2012). A new Framework of Employee Engagement. [On-line]. Available : http://www.chrs.rutgers.edu/pub_documents/ Employee EngagementWhitePaper Final. [2017, January 8].
Yamane, Taro. (1973). Statistics an Introduction Analysis. (2nd ed). New York Harper and Row Publisher.