ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์สำหรับการรณรงค์ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคตาแดง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและวิเคราะห์เสถียรภาพของตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์สำหรับการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตาแดง วิเคราะห์ตัวแบบโดยใช้วิธีมาตรฐาน ศึกษาจุดสมดุล ศึกษาเสถียรภาพของจุดสมดุล หาคำตอบเชิงวิเคราะห์ ศึกษาอัตราการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตาแดง () ในตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์และหาคำตอบเชิงตัวเลข
ผลการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์พบว่า ณ จุดสมดุลไม่มีโรคเมื่ออัตราการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตาแดง =0.4 มีค่าระดับการติดเชื้อ () เท่ากับ 0.948488452 และ ณ จุดสมดุลที่มีโรคเมื่ออัตราการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตาแดง =0 มีค่าระดับการติดเชื้อ (R0) เท่ากับ 1.224493327 และ อัตราการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดเป็นปัจจัยที่มีผลต่อตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ถ้าประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตาแดง และปฏิบัติตามสมมติฐานที่ตั้งไว้มากขึ้นจะส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคลดลงจนไม่มีการแพร่ระบาดของโรค
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Biophysics Group. 2009. Mathematics Model of Transmission. Faculty of science, Mahidol University.
Bureau of Epidemiology.2016. Conjunctivitis Available from URL: http://rnnvw.boe.moph.go.th/facConjunctivitis, 13 August 2016. (In Thai)
Diekmann, O., Heesterbeek, J.A.P., Roberts, M.G.. 2010. The construction of next-generation matrices for compartmental epidemic models. J. R. Soc. Interface 7, 873–885.
Fred Brauer, Pauline den Driessche and Jianhong Wu (Eds.). 2008. Mathematical Epidemiology. Vancouver, B.C. V6T 1Z2, Canada: Springer-Verlag Berlin Heidelberg.
Jantrapron Sukawat and Surapol Naowarat. 2014. Effect of Rainfall on the transmission Model of Conjunctivitis. Advanced in Environmental Biology, 8(14): 99-104. (In Thai)
Kribs-Zaleta, C.M. and Valesco-Hernández, J.X.. 2000. A simple vaccination model with multiple endemic states. Mathematical Biosciences,164 (2): 183–201.
Kermack, W. O. and McKendrick, A. G.. 1927. A Contribution to the Mathematical Theory of Epidemics. Proc. Roy. Soc. Lond. A 115: 700-721.
Naowarat, S., Tawarat, W., & Tang, I.M.. 2011. Control of the Transmission of Chikungunya Fever Epidemic Through the use of Adulticid. Science Publication, 6: 558-565. (In Thai)
Sukunya Sresurijan. 2016. Formulate a mathematical model. Available from URL:http://elearning.nsru.ac.th/web_elearning/math_model/introducti on.html, 13 August 2016. (In Thai)
Teerawat Nakaboot. 2003. mathematical model. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University. (In Thai)
Van den Driessche, P., Watmough, J.. 2002. Reproduction number and sub-threshold endemic equilibriums for compartmental models of disease transmission. Math. Biosci. 180(1-2), 29–48.