การบังคับคดีผู้ประกันในคดีอาญาของประเทศไทย

Main Article Content

ไพโรจน์ ทิมจันทร์
ธนวัฒน์ พิมลจินดา
ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุที่มีผลกระทบต่อระบบและวิธีการในการบังคับคดีผู้ประกันในคดีอาญาของสำนักงานศาลยุติธรรม และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางหรือวิธีการที่เหมาะสมในการบังคับคดีผู้ประกันในคดีอาญาของสำนักงานศาลยุติธรรม โดยอาศัยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) จากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นิติกรผู้ปฏิบัติงานบังคับคดีโดยตรงของศาลยุติธรรม จำนวน 166 คน และผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัด จำนวน 64 คน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) ที่เก็บรวบรวมจากการสัมภาษณ์เชิงลึก  (In-depth interview) ผู้บริหารสูงสุดของศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม หัวหน้าส่วนราชการศาลยุติธรรมที่ดำเนินคดีอาญา ในกรุงเทพมหานคร และศาลยุติธรรมที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่ตั้งสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1-9 และผู้บริหารสูงสุดของกรมบังคับคดี รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน เพื่อประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย


                ผลการวิจัย พบว่า มีสาเหตุสำคัญ 4 ประการ ที่ทำให้การบังคับคดีผู้ประกันในคดีอาญาของสำนักงานศาลยุติธรรมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด คือ (1) สาเหตุด้านบุคลากรที่ขาดความเชี่ยวชาญและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (2) สาเหตุด้านงบประมาณ โดยเฉพาะในส่วนของงบประมาณที่ใช้ในการปฏิบัติงานต่างๆ (3) สาเหตุด้านเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบังคับคดี และ          (4) สาเหตุด้านกระบวนการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการบังคับคดี จากสาเหตุทั้ง 4 ด้าน ผลจากการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า การบังคับคดีควรเป็นภารกิจหลักของกรมบังคับคดี โดยมีสำนักงานศาลยุติธรรมและสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานสนับสนุน เนื่องด้วยความพร้อมทางด้านทรัพยากรทางการบริหาร โดยเฉพาะความเชี่ยวชาญของบุคลากรและกระบวนการที่เป็นขั้นตอนสำคัญของการบังคับคดี ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรมบังคับคดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทศพร ศิริสัมพันธ์.(2543). การบริหารผลการดำเนินงาน (Performance management) รวมบทความวิชาการ 100 ปี รัฐประศาสนศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์.(2552).การวิจัยทางด้านนิเทศศาสตร์.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2553). Think people consulting. เข้าถึงได้จาก http://sub.led.go.th/led/index.php/about-led-4.html
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา (ฉบับที่ 22)พ.ศ. 2547,(2547,23 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 121 ตอนพิเศษ 79 ก.หน้า 15-16

พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ ปี 2553.(2553, 7 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 75 ก. หน้า 42-43

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2560. (2550, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 8, 9, และ 55

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2549). การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์. กรุงเทพฯ: ฟอร์เฟซ.

สมคิด บางโม. (2540). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สำนักกิจการคดี. (2561). จัดส่งข้อมูลสถิติบังคับคดีผู้ประกัน. หนังสือที่ ศย 024(ส)/645 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2561

Christopher Hood. (1991). A Public Management for All Seasons?. Public Administration, p.69, 3-19.

Harold D.Koontz, Principles of Management: (New York: McGraw-Hill Kogakusha, 1964), P.4

Kankrao Group. (ม.ป.ป.).กระบวนการทำงาน. เข้าถึงได้จาก http://sites.google.com/site/kankraogroup/krabwnkar-kar-thangan