แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

Main Article Content

วรพร อรรคศรีวร
สุพัฒนชัย โพธิ์แก้ว

บทคัดย่อ

                การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการความรู้ในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บข้อมูลจากคณะกรรมการการจัดการความรู้ในองค์กร จำนวน 26 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (Focus Group Discussion) จำนวน 9 คน รวม 35 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวิจัยและการจัดการเรียนการสอน : กำหนดเรื่องหลักเอาไว้เพื่อจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องทุกปี 2) ด้านการบริหารจัดการของบุคลากรสายสนับสนุน : พิจารณาจากประเด็นที่เป็นปัญหา มีความจำเป็นเร่งด่วน และเป็นเรื่องที่บุคลากรสายสนับสนุนต้องการ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คือ บุคลากรมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management) บางส่วนเห็นว่าการจัดการความรู้ เป็นภารกิจหนึ่งที่ต้องทำให้บรรลุตามตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ และคิดว่าเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นมาจากงานประจำ ส่งผลให้การจัดการความรู้อยู่ในวงจำกัด ขาดปฏิสัมพันธ์ในลักษณะการแบ่งปันความรู้แก่กัน สำหรับแนวทางการการพัฒนาการจัดการความรู้ มี 3 ประการ ได้แก่ 1) แนวทางการกำหนดขอบเขตและเป้าหมายการจัดการความรู้ : สอดคล้องกับทิศทางและประเด็นยุทธศาสตร์ของคณะ/สาขาวิชา หน่วยงานและทำให้เกิดการปรับปรุงที่เห็นได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม มีโอกาสทำได้สำเร็จสูง 2) แนวทางการจัดการความรู้ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยฯ: จัดทำวงจรแนวทางการจัดการความรู้ และขบวนการจัดการความรู้ของหน่วยงานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3) แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการความรู้ระดับมหาวิทยาลัยฯ : ทบทวนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้/จัดประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการความรู้ระดับมหาวิทยาลัย/ดำเนินการวางรูปแบบการจัดทำแผนการจัดการความรู้ ปี 2561

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). การจัดการความรู้ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

กาญจนา จันทร์วัน. (2552). แนวทางการจัดการความรู้ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารโดมทัศน์. 30(2) : 11 -12

งานบริหารการวิจัยฯคณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2559). การจัดการความรู้ขององค์กร (Knowledge Management : KM) เรื่อง “ปัญหาอุปสรรคแนวทางความช่วยเหลือและกลวิธีสู่ ความสำเร็จเพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสำหรับอาจารย์ นักวิจัยรุ่นใหม่.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ธิตินนท์ มณีธรรม (2557 : 29) ได้ศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

ธิตินนท์ มณีธรรม. (2557). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการองค์ความรู้ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

มาร์ควอดต์, เอ็ม. เจ. (2550). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้. (บดินทร์ วิจารณ์, ผู้แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

สมจิตร์ สุวรักษ์. (2554). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฎิบัติงาน ของบุคลากรในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อภิรักษ์ เชษฐเผ่าพันธุ์. (2555). อุปสรรคปัญหาและแนวทางการแก้ไขการทำ KM. [Online]. Available : https://www.gotoknow.org/posts/1012 [2560, ธันวาคม 15].

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline : The Art and Practice of the Learning Organization. London : Century Business.