แนวทางการสร้างนาฏกรรมจากโบราณคติ

Main Article Content

วิกรม กรุงแก้ว
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์

บทคัดย่อ

               บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งวิทยานิพนธ์เรื่องการสร้างนาฏกรรมจากโบราณคติ มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาการนาฏกรรมจากโบราณคติ 2) แนวทางการสร้างนาฏกรรมจากโบราณคติ ซึ่งบทความนี้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 โดยศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ สังเกต การสนทนากลุ่ม เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา โดยมีขอบเขตศึกษานาฏกรรมจากโบราณคติเรื่องพระมหาชนก พ.ศ.2540 ถึงพระมหาชนก เดอะ ฟีโนมีนอนไลฟ์ โชว์


                    ผลการวิจัยพบว่า นาฏกรรมจากโบราณคติเรื่องพระมหาชนกเกิดจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนาถบพิตร ทรงสดับพระธรรมเทศนา พ.ศ. 2520 ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ และทรงสนพระราชหฤทัยในคติคำสอน ทรงค้นพระไตรปิฏกและพระราชนิพนธ์เป็นวรรณกรรมเรื่องพระมหาชนกขึ้นในพ.ศ.2539 เพื่อเป็นคติเตือนใจพสกนิกรชาวไทย จากนั้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ครูเสรี หวังในธรรม นำบทพระราชนิพนธ์มาจัดสร้างเป็นละครในวันข้าราชการพลเรือนสามัญ 30 มี.ค. 2540 และพัฒนาไปสู่แนวทางการสร้างนาฏกรรมจากโบราณคติเรื่องพระมหาชนก จำนวน 9 รูปแบบหลัก คือ 1) ละครพันทาง 2) หนังตะลุง 3) ลิเก 4) หมอลำ 5) ละครฟ้อนล้านนา 6) หุ่นละครเล็ก 7) หุ่นกระบอกไทย 8) ละครเพลง 9) การ์ตูนแอนนิเมชั่น โดยแต่ละแนวทางขึ้นอยู่กับความถนัด งบประมาณ สถานที่จัดแสดงและการบริหารจัดการของผู้จัดสร้าง ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าโบราณคติเป็นภูมิปัญญาทางคลังสมองที่มีมาจากอดีตกาลจะปรากฏขึ้น  เมื่อมนุษย์มีทัศนคติย่อหย่อนกับคุณธรรมจริยธรรม ดังนั้นโบราณคติจึงเป็นเครื่องมือในการเตือนสติและขัดเกลาจิตใจ เพื่อเป็นแนวทางต่อการพัฒนาชีวิตของมนุษย์และสังคมไทย ตลอดจนเป็นคุณูปการในการต่อยอดเป็นนาฏกรรมตามแนวทางอื่น ๆ สืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรยุทธ นิลมูล. (2562, 22 เมษายน). ประธานกลุ่มนาฏยศิลป์อิสระสิปานคอเลคชั่น. สัมภาษณ์.

นครินทร์ ชาทอง. (2560, 15 พฤษภาคม). ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (หนังตะลุง) พ.ศ. 2550 เลขที่ 66 หมู่ที่ 5 ถนนบ้านพรุธานี ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์.

นิพนธ์ วรรณมหินทร์. (2559, 24 กันยายน). นาฏกรรมพระมหาชนกในรูปแบบใหม่ พระมหาชนกเดอะฟีโนมีนอน ไลฟ์ โชว์. กรุงเทพฯ: บางกอกแดนซ์.
.
นิเวศ แววสมณะ. (2562, 25 เมษายน). ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้และละครบ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย. สัมภาษณ์.

ไพโรจน์ ทองคำสุข. (2548). ครูเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ รูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอดและสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.

_______. (2560, 19 กุมภาพันธ์). ผู้ช่วยผู้กำกับละครชาดกเรื่องพระ มหาชนกฉบับกรมศิลปากร.ห้องประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. สัมภาษณ์.

ภูมิพลอดุลยเดชฯ, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2540). พระมหาชนก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

ยุพิน กุลนิตย์. (2561, 19 กุมภาพันธ์). นาฏกรรมพระมหาชนกในรูปแบบหุ่นละครเล็กโจหลุยส์. กรุงเทพฯ: โจหลุยส์ เธียเตอร์.

_______. (2561, 19 กุมภาพันธ์). ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดงและผู้แต่งบทละครพระมหา ชนกฉบับหุ่นละครเล็ก.บริษัท โจหลุยส์ เธียเตอร์. สัมภาษณ์.

รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน. (2559). ความเป็นมาพระมหาชนก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สมยศ ศุภกิจไพบูลย์และคณะ.(2560). ตามรอยพระมหาชนก ตามรอยพ่อ. กรุงเทพฯ: ย้อนรอย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2546). “ลิเก”. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, 27: 21.

อิทธิศักดิ์ บุญปราศภัย. (2540, สิงหาคม) “ละครพระราชนิพนธ์พระมหาชนก” นิตยสาร