มานิกลุ่มคนชายขอบ : การประยุกต์สู่งานแสดงเชียร์ลีดเดอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องมานิกลุ่มคนชายขอบ : การประยุกต์สู่งานแสดงเชียร์ลีดเดอร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตและเครื่องแต่งกายของชาติพันธุ์มานิ 2) เพื่อการประยุกต์เครื่องแต่งกายของชาติพันธุ์มานิ สู่งานแสดงเชียร์ลีดเดอร์ ขอบเขตของพื้นที่วิจัยคือ บริเวณเทือกเขาบรรทัด จังหวัดสตูล โดยใช้เป็นกรณีศึกษาแบบเจาะจง การศึกษาข้อมูลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อยจำนวน 3 ครั้ง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ครูภูมิปัญญาแห่งชาติ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น กรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตและอาจารย์สาขาวิชาศิลปะการจัดการแสดง เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับการศึกษามานิกลุ่มคนชายขอบ : การประยุกต์สู่งานแสดงเชียร์ลีดเดอร์ พร้อมทั้งนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการบรรยายอย่างละเอียด
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาติพันธุ์มานิ เป็นกลุ่มชนที่อาศัยในป่าลึก มีแหล่งน้ำ ดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าและล่าสัตว์ ลักษณะรูปร่างเตี้ย ผิวดำ ริมฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกคล้ายก้นหอยติดหนังศีรษะ มีความเชื่อในภูตผีปีศาจ ในอดีตการแต่งกายที่สำคัญนิยมใช้ใบไม้ เปลือกไม้หรือตะใคร่น้ำที่เป็นแผ่นขนาดใหญ่มาผึ่งแสงแดดให้แห้งสนิทจึงนำมาถักเป็นเครื่องนุ่งห่ม สตรีชาวซาไกนุ่งยาวถึงหัวเข่าหรือบริเวณน่อง ใช้ผ้าคาดอกหรือเปลือยอก บุรุษนุ่งสั้นบริเวณหัวเข่าและเปลือยอก ส่วนเด็กเล็กจะไม่สวมเครื่องแต่งกาย แต่สภาพสังคมในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ส่งผลให้ ชาติพันธุ์มานิต้องปรับตัวเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและเมื่อไม่สามารถหาอาหารในป่าได้ ชาติพันธุ์มานิบางส่วนต้องเข้าเมืองเพื่อหางานทำและรับสิ่งของบริจาคจากรีสอร์ทและบ้านเรือนบริเวณใกล้เคียง 2) ผลจากการประชุมกลุ่มย่อย พบว่า กลุ่มผู้รู้และผู้ปฏิบัติ มีแนวคิดร่วมกันโดยสรุปด้านการพัฒนารูปแบบเครื่องแต่งกายของชาติพันธุ์มานิ สู่งานแสดงเชียร์ลีดเดอร์ โดยการพัฒนาบนพื้นฐานการอนุรักษ์ เป็นการประยุกต์ใช้วิกผมทรงหยิกฟู ต่างหู สร้อยคอ กำไลข้อมือ ข้อแขน กำไลข้อเท้า กระโปรงประดับด้วยดอกไม้สีแดง นำหินสีแดงและวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์กรองคอและประดับเป็นตุ้งติ้งบริเวณเกาะอกและกระโปรง พัฒนาผ้านุ่งจากวัสดุธรรมชาติเป็นผ้านุ่งสำเร็จรูปเพื่อความคล่องตัวกับการเคลื่อนไหว พร้อมประยุกต์ ท่าทางและอิริยาบถสำคัญในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย 1) ท่าการวางแผนล่าสัตว์ 2) ท่าต้อนฝูงสัตว์ 3) ท่าเป่าลูกดอก 4) ท่าแบกหามสัตว์ 5) ท่าเก็บลูกไม้ป่า 6) ท่าการเฉลิมฉลอง 7) ท่าการบอกรัก และ 8) ท่าการเกี้ยวพาราสี เหล่านี้สามารถส่งผลด้านการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล โดยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต้องวางแผนและดำเนินการอย่างจริงจัง อีกทั้งสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มชนต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธภาพเชิงบวกทั้งภายในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค อีกทั้งด้านการผลิตสินค้าโดยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นสามารถส่งเสริมและสนับสนุนด้านการสร้างเศรษฐกิจระดับจุลภาคซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืนได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
จุติกา โกศลเหมมณี. รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี. ศิลปนิพนธ์ ศป.ด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2555.
“เปิดตำนานผู้กล้าแห่งท้องทะเล ไขปม 'หาดราไวย์',” ฐานเศรษฐกิจ. 6 กุมภาพันธ์ 2559. หน้า 13.
จิราพร เครือยศและคณะ.ศึกษาพฤติกรรมของนกแก้วมาคอร์. ศิลปนิพนธ์ ศป.บ. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2558.
“ชง ม.44 แก้ปมภูเก็ต ททท.เร่งฟื้นเชื่อมั่น,” ฐานเศรษฐกิจ. 19 -21 กรกฎาคม 2561. หน้า 2.
“ซีดีจี” มุ่งยกระดับไอทีรัฐ รับ 5 เมกะเทรนด์เปลี่ยนแปลงโลก,” ฐานเศรษฐกิจ. 19 -21กรกฎาคม 2561. หน้า 5.
ภคพร หอมนานและวิชชุตา วุธาทิตย์. นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยโพสต์โมเดอร์ดานซ์ (Post- Modern Dance) ชุดอ้างว้าง โดย นราพงษ์ จรัสศรี. ศิลปนิพนธ์ ศป.ม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
ยุทธพงษ์ ต้นประดู่. การพัฒนารูปแบบพัสตราภรณ์ในพิธีวิวาห์บาบ๋าสู่งานสร้างสรรค์คาบาเรต์. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2559.
“ลุยแก้ไขศูนย์เหรียญ,” เดลินิวส์. 21 กันยายน 2559. หน้า 16.
วิกรม กรุงแก้ว และยุทธพงษ์ ต้นประดู่. การพัฒนารูปแบบผ้าพื้นเมืองภูเก็ตสู่นาฏยศิลป์ร่วมสมัย. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2560.
สารภี เอกน้ำเพชร. การพัฒนาเครื่องแต่งกายของวงดรีลูกทุ่งเพื่อสร้างเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของภาคใต้. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2557.
สาวิตร พงศ์วัชร์ และยุทธพงษ์ ต้นประดู่. การศึกษากลุ่มชนพื้นเมือง กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ สู่งานสร้างสรรค์ระบำชาติพันธุ์อันดามัน. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2561.
สุรสิทธิ์ วิเศษสิงห์. อรรถรสในนาฏศิลป์ผ่านนาฏกรรมแนวใหม่ เรื่อง นารายณ์อวตาร. ศิลปนิพนธ์ ศป.ด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
อาภรณ์ อุกฤษณ์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศกับสังคมและวัฒนธรรมของ ซาไก : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ซาไกกลุ่มเหนือคลองตง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง.กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.