ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต

Main Article Content

ตรียาภรณ์ จันทวงศ์
อดุล นาคะโร

บทคัดย่อ

                   การศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายใน ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ตครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายใน ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ปีการศึกษา 2557 จำนวน 257 คน โดยคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ในการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง แทนค่าตามสูตร จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation Coefficient) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ ผลการวิจัย พบว่า


  1. ระดับคุณลักษณะของผู้บริหาร ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ตมีระดับคุณลักษณะอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คือ คุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ คุณลักษณะด้านวิชาการ คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถด้านการบริหาร คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ และคุณลักษณะด้านภาวะผู้นำ

  2. ระดับการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต มีระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การสร้างขวัญและกำลังใจ การวางแผนการนิเทศ การดำเนินงาน การให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ และการประเมินผลการนิเทศ

  3. ปัจจัยด้านคุณลักษณะที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายใน คือ คุณลักษณะด้านวิชาการ คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถด้านการบริหาร คุณลักษณะด้านภาวะผู้นำ และคุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ ส่งผลต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถทำนายการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ตได้ร้อยละ 81.40

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

คำแพง พิมสาร. (2545). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร ตามทัศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

ชัยพร พันธุ์น้อย. (2547). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็นของครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

ชารี มณีศรี. (2538). การบริหารความเปลี่ยนแปลง “สรรพสิ่ง ย่อมเปลี่ยนแปลง”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 10(1) : 14 - 26.

ทรงสวัสดิ์ แสงมณี. (2552). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความต้องการของครูสังกัดกรุงเทพมหานครเขตบางขุนเทียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

ทศพร จรุงพันธ์. (2553). ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้บริหารที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ผ่านการประเมินมาตรฐานการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.

นิตยา ฤทธิ์อินทร์. (2551). คุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์ตามทัศนะของครูในอำเภอหัวหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

บรรเจิด อินทร์กล่า. (2549). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามทัศนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

บุญธรรม ไวยมิตรา. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ปราโมทย์ สุวรรณเวก. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับสมรรถภาพการสอนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

พิสณุ ฟองศรี. (2550). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พรอพเพอร์ตี้พริ้น จำกัด.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2554). ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ : ตัวชี้วัดสู่ความสำเร็จ. [Online]. Available : http://social.obec.go.th/node/88 . [2557, กันยายน 1].

ภิญโญ สุทธิพิทยศักดิ์. (2551). พฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารกับประสิทธิภาพการสอนของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

เมตตา คันธา. (2545). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สถาบันเวชศาสตร์การบินกรมการแพทย์ทหารอากาศ.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ระวีวรรณ เสวตามร (2532). ยุทธวิธีเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : การุณการพิมพ์.

วาสนา หลงสมบุญ. (2546). การเปรียบเทียบคุณลักษณะตามสภาพจริงและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

วิรัช ส่องสว่าง. (2544). การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์ตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

ศุภวัฒน์ บำรุงสวัสดิ์. (2551). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษาหลักการทฤษฎีและการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร : มิตรสยาม.

สุดา สุวรรณภิรมย์ และคณะ. (2549). ภาวะผู้นำขององค์กรสตรี : กรณีศึกษาผู้นำภาครัฐและเอกชน. วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 7(3) : 2.

สุนทรา นนสุราช. (2550). ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2554). สู่มิติการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. [Online]. Available: http://www.http://addkutec3.com/wpcontent/uploads/2011/12/management-001.pdf.[2557, กันยายน 1].

อนุชิต วรรณสุทธิ์. (2546). การศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในอนาคต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อิ้น ขำทวี. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารกับการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

Hallinger, P. & Murphy, J. (1985). Assessing the Instructional Management. New York : McGraw-Hill.