อิทธิพลเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรในจังหวัดภูเก็ตของผู้บริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ตที่มีต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ตที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ 3) เพื่อศึกษารูปแบบคุณลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรในจังหวัดภูเก็ต 4) เพื่อผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจวิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยศึกษาอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ประชากรทั้ง 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และ อำเภอกะทู้ จำนวนรวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaires) จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 62.5 มีอายุระหว่าง 25 -35 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 73 การศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 59.5 อาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน/พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 62.7 มีรายได้ 20,001-30,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 31 ด้านพฤติกรรมการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์
พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์
เพื่อค้นหาข้อมูล/เป็นแหล่งความรู้ มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 22 ใช้บริการในช่วงเวลา 18.00-21.00 น.คิดเป็นร้อยละ 40.3 ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในแต่ละครั้งมีระยะเวลา 30 นาที - 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 65.5 ความถี่ที่ใช้คือ 7วัน ต่อสัปดาห์ (ใช้ทุกวัน) คิดเป็นร้อยละ 64.3 อุปกรณ์ที่ใช้งานคือ โทรศัพท์มือถือ คิดเป็นร้อยละ 78.8 สถานที่ใช้งาน ที่บ้าน / ที่พักอาศัย คิดเป็นร้อยละ 81.8 ด้านปัจจัยด้านคุณลักษณะเครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของเครือข่ายออนไลน์ ในภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (x̅ = 4.26)ด้านอิทธิพลของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรร พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นความคิดเห็นเกี่ยวกับอิทธิพลของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรร โดยรวม อยู่ในระดับเห็นด้วย (x̅ = 3.97)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
จตุพล พงษ์วิทยภานุ.(2554).อิทธิพลของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม.ภาคนิพนธ์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัทราวรรณ ศรีพราย.(2556).ปัจจัยเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทย:กรณีศึกษา Facebook.วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ภิเษก ชัยนิรันดร์.(2553).การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social Media.กรุงเทพมหานคร:ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิชากร พันธ์คง.(2558).การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการแนะนำกลุ่มความสนใจทางสังคมออนไลน์โดยใช้เนื้อหาและรูปแบบการปฏิสัมพันธ์.วิทยานิพนธ์ ดุษฏีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นุชรีย์ แผ่นทอง.(2555).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์บน Facebookของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ระบบสถิติทางการทะเบียน.สถิติประชากรและบ้าน-จำนวนประชากรแยกรายอายุ.[online].Avaiable: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php [2559,ธันวาคม 1]
ศุภมาส ศิริอักษร.(2557).อิทธิพลของสื่อโฆษณาบนSocial Media ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการตอบสนองของพฤติกรรมผู้บริโภค.การวิจัยโครงเฉพาะเรื่อง.บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจองเกล้าธนบุรี.
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์.(2557).พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนานาชาติแสตทฟอร์ด กรณีศึกษาเฟสบุ๊ก.งานวิจัย. คณะศิลปศาสตร์,มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.(2559).การลงทุนบรอดแบนด์ใยแก้วนำแสง ในช่วงปี'59-61หนุนมูลค่าตลาดพัฒนาโครงข่ายเฉียด 2 แสนล้านบาท. [online].Avaiable: https://www.kasikornresearch.com [2559,กรกฏาคม 17]
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012), Marketing Management, Global Edition14e,London: Pearson Education Limited 2012