ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูวิทยาศาสตร์เพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการบริบทชุมชนท้องถิ่นและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การให้ความสำคัญกับทักษะในยุคศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการปรับตัว ทักษะการสื่อสาร ทักษะด้านเทคโนโลยี และทักษะการแก้ปัญหา และจากบริบทของประเทศไทยที่น้อมรับแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยได้มีการบูรณาการประเด็นทั้งสองลงในหลักสูตรสถานศึกษา แต่ปัจจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความสำเร็จการเป้าหมายนี้ได้คือ ครูวิทยาศาสตร์ การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ให้มีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Content Knowledge, TPACK) ที่เหมาะสมจึงถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฏิบัติการสอนของครูวิทยาศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูวิทยาศาสตร์ 40 ท่านที่เป็นครูพี่เลี้ยงโดยโครงการพัฒนาวิชาชีพครู (Co-TPACK) ที่บูรณาการการหนุนนำอย่างต่อเนื่อง (Coaching System) ที่โรงเรียนร่วมกับรูปแบบการร่วมมือกันในการสอน (Co-teaching Model) ระหว่างครูวิทยาศาสตร์นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และอาจารย์นิเทศโดยข้อมูลวิจัยนี้ประกอบด้วยข้อมูลจากการสะท้อนการเรียนรู้ของครู การสังเกตการเรียนการสอน การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และใช้เหตุการณ์จำลอง แบบสอบถามปลายเปิด และข้อมูลจากการศึกษาเอกสารการสอนต่างๆ งานวิจัยนี้มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods) โดยใช้กรอบแนวคิดการตีความ (Interpretivist Framework)
ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเริ่มต้นครูวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความหมาย ที่มา และองค์ประกอบ แต่ไม่สามารถอธิบายหรือสะท้อนต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของตนเองได้ รูปแบบการสอนของครูส่วนใหญ่เน้นการบรรยายและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อครูวิทยาศาสตร์เข้าร่วมในโครงการพัฒนาวิชาชีพ (Co-TPACK) นี้พบว่าครูวิทยาศาสตร์สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อเนื้อหาวิทยาศาสตร์และวิธีการสอน โดยครูวิทยาศาสตร์มีการวางแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างชัดเจน รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครู (Co-TPACK) ซึ่งจะเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างครู นักศึกษาและอาจารย์นิเทศที่มีบทบาทเป็นนักวิจัยและครูต่างโรงเรียนผ่านช่องทางที่หลากหลาย รวมถึงการใช้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านออนไลน์สามารถส่งเสริมให้ครูวิทยาศาสตร์ออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นรากฐานมีการใช้เหตุการณ์ สถานการณ์ สถานที่ในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ผลการพัฒนาของครูวิทยาศาสตร์ด้าน TPACK นั้นส่งผลให้ครูวิทยาศาสตร์สามารถสอนวิทยาศาสตร์แบบบ่งชี้ถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ (Explicit Teaching) และการพัฒนาที่เกิดขึ้นกับครูวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้มีความยั่งยืนโดยเห็นได้จากแผนการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติการสอนของครูวิทยาศาสตร์
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
สถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2544. คู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Fatting, I.L. and Taylor, M.T. 2008. Co-teaching in the differentiated and classroom management. San Francisco : Jossey-Bass.
Magnusson, S., J. Krajcik, and H. Borko. (1999). Nature, sources, and developmentof pedagogical content knowledge for science teaching. In J. Gess-Newsomeand N.G. Lederman (Eds.), Examining pedagogical content knowledge: theconstruct and its implications for science education (pp. 95-132). Dordrecht:Kluwer. Netherlands: Kluwer Academic Publisher.
Mishra, P., and Koehler, M. J. (2006). Technological Pedagogical Content Knowledge: A new framework for teacher knowledge.Teachers College Record. 108 (6), 1017-1054.
Shulman, L. S. 1986. “Those who understand: Knowledge growth in teaching”. Educational Researcher.15 (2) : 4-14.
Tobin, K. and C. J. McRobbie. 1996. “Cultural Myths as Constraints to the Enacted Science Curriculum.” Science Education 80 : 223 - 241.