การศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนหลักในการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

Main Article Content

ธณัชนันท์ ศรีงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนหลักในการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการของโรงเรียนหลักในการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการของโรงเรียนหลักในการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก และเพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนหลักในการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของจำนวนครูในโรงเรียนหลัก ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane (Yamane, 1970 : 886 – 887 ) ได้กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมดจำนวน 123 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก  จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และจัดหมวดหมู่จำแนกประเภทข้อมูล อย่างเป็นระบบทุก ๆ ประเด็น เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน สังเคราะห์ข้อมูลที่เชื่อมโยง สรุปออกมาตามประเด็นหัวข้อการวิจัย และนำเสนอข้อมูลในลักษณะการเขียนเชิงบรรยาย


                   ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการของโรงเรียนหลักในการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามีการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการบริหารจัดการที่มีการดำเนินการสูงที่สุดคือด้านการบริหารทั่วไป รองลงมาคือด้านการบริหารงบประมาณ  ด้านการบริหารงานบุคลากร และน้อยที่สุดคือด้านการบริหารวิชาการ 2) ปัญหาในการบริหารจัดการของโรงเรียนหลักในการรวมโรงเรียนขนาดเล็กพบว่าการจัดการศึกษาระหว่างโรงเรียนหลักและโรงเรียนขนาดเล็กยังไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การจัดทำหลักสูตรและการใช้หลักสูตรยังขาดความร่วมมือของทั้งสองโรงเรียน การใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นและการเบิกจ่ายงบประมาณมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการของโรงเรียนหลักในการรวมโรงเรียนขนาดเล็กพบว่า การรวมโรงเรียนควรคำนึงถึงผู้ได้รับประโยชน์มากที่สุดคือนักเรียน ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียควรมีความเสียสละและคำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่ยึดติดกับความต้องการหรือแนวคิดของการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ดีกว่า  และ 3) แนวทางการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนหลักในการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3.1) โรงเรียนหลักประเมินความพร้อมของตนเองก่อนดำเนินการตามนโยบายการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก 3.2) โรงเรียนหลักควรทำความเข้าใจ ศึกษาหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กที่จะมาเรียนรวม 3.3) โรงเรียนหลักประชุมปรึกษาหารือกับบุคลากรทุกฝ่ายของโรงเรียนหลักเกี่ยวกับนโยบายการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก 3.4) โรงเรียนหลักประชุมและให้ความรู้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนหลักและโรงเรียนขนาดเล็กที่มารวม เพื่อปรับวิสัยทัศน์ แนวความคิด รับทราบนโยบาย สร้างความความเข้าใจและสร้างแนวปฏิบัติที่ตรงกัน 3.5) โรงเรียนหลักร่วมกับโรงเรียนขนาดเล็กวางแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการในการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน เช่น การบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านบริหารบุคลากร และด้านการบริหารทั่วไป 3.6) โรงเรียนหลักเชิญวิทยากรมาให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการรวมโรงเรียนขนาดเล็กให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 3.7) ก่อนดำเนินการรวมโรงเรียนหลักควรจัดกิจกรรมให้ทั้งสองโรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 3.8) โรงเรียนหลักนำครูและผู้ที่เกี่ยวข้องศึกษาดูงานโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการรวมโรงเรียนขนาดเล็ก 3.9) โรงเรียนหลักเปิดโอกาสให้ชุมชนทั้งสองโรงเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน 3.10) โรงเรียนหลักจัดเตรียมอาคารสถานที่ให้พร้อมและเพียงพอกับจำนวนครูและนักเรียนจากโรงเรียนที่มาเรียนรวม และ3.11) โรงเรียนหลักมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธณัชนันท์ ศรีงาม, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

เกนยา ปิ่นจันทร์. (2547). การพัฒนาแนวปฏิบัติในการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นิศารัตน์ งามประเสริฐ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหมิตรออฟเซท.

ราชกิจจานุเบกษา (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (เล่ม 119 ตอนที่ 123ก, หน้า 1-46). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุทัศน์ ประสาธน์สุวรรณ์. (2541). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก : ศึกษากรณีการยุบรวมโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ การบริหารการศึกษาหมาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุนทรี สุวรรณภูมิ. (2549). การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กรณีโรงเรียนวัดสารภีวิทยาคาร อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. (2555). แผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ปีการศึกษา 2555 -2561. กระบี่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่. (2555). ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา ปีการศึกษา 2546. กระบี่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพมหานคร.

Chrispeels, J.H. (1992). Purposeful Restructuring. London: Falmer Press.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. Newyork : Harper and Row Publication.