การออกแบบสื่อนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตาในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพฯ

Main Article Content

สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ
วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน
อนุชา แพ่งเกษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบสื่อนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตาในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพฯ โดยมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตบางกอกน้อย แห่งที่ 2 (บ้านข้าวเม่า) เป็นพื้นที่ศึกษา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจัยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้พิการทางสายตา และผู้พิการทางสายตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์โดยใช้คำถามแบบเปิดและแบบสังเกต โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อให้ได้แนวทางการออกแบบและนำผลงานออกแบบให้กลุ่มประชากรประเมินผลงานอีกครั้ง


ผลการวิจัยพบว่า 1) วัตถุทางศิลปะ (Object) ในการออกแบบสื่อนิทรรศการสำหรับผู้พิการทางสายตา ประกอบด้วย 1.1) การออกแบบภาพสัญลักษณ์ (Pictogram) โดยการใช้ภาพที่ลอกเลียนมาจากธรรมชาติ ลดทอนรายละเอียด ใช้เส้นและภาพด้านในการออกแบบ จะช่วยให้มีการรับรู้ได้ง่าย 1.2) สื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ชนิดป้ายพลิก สามารถเติมเต็มประสบการณ์จากการอ่านเพียงได้ดี สื่อเสียง QR Code ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกใหม่ และเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ผ่านการใช้งานร่วมกับการอ่านปกติ 2) เนื้อหา (Content) ใช้เนื้อหาเรื่องข้าวเม่า ซึ่งเป็นเรื่องเด่นของพิพิธภัณฑ์ชุมชนนี้ ควบคู่กับการจัดการเรียนรู้ควรให้ผู้พิการทางสายตาได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อนิทรรศการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Learning) ช่วยให้ได้รับการเรียนรู้มากกว่าการอ่านเพียงอย่างเดียว สรุปในภาพรวม การออกแบบสื่อนิทรรศการที่เหมาะสมต่อการใช้งานของผู้พิการทางสายตา จะต้องมีการบูรณาการการออกแบบโดยเน้นไปที่การใช้ประสาทสัมผัสที่เหลือ คือ การสัมผัส การฟัง และการดม มาใช้ร่วมกัน และที่สำคัญที่สุดคือควรมีการให้ผู้พิการทางสายตาได้ลงมือเรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : เทพเพ็ญวานิสย์

ณมณ โชตอนันต์กูล. (2555). “สัญศาสตร์เพื่อการออกแบบฉลากยาสำหรับผู้มีปัญหาสายตาเลือนราง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรอาภา บุญจันทร์. (2555). การจำลองวัตถุทางพิพิธภัณฑ์สำหรับคนตาบอด. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 32(1), 107-114

บุญช่วย โกษะ. (2554). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : พรพอเพียง.

เปียทิพย์ พัวพันธ์. (2549). การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับคนตาบอด เรื่อง การนวดฝ่าเท้า. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 5(2) :1-6.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2551). พิพิธภัณฑ์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิระยะพันธุ์.

อนุชา เกื้อจรูญ. ปราชญ์ชุมชน ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นฯ บ้านข้าวเม่า. (28 กันยายน 2558). สัมภาษณ์.

Baker, C. M., Milne, L. R., Scofield, J., Bennett, C. L., & Ladner, R. E. (2014). Tactile Graphics with a Voice: Using QR Codes to Access Text in Tactile Graphics. In ASSETS’14 - Proceedings of the 16th International ACM SIGACCESS Conference on Computers and Accessibility. (75-82). Association for Computing Machinery, Inc. DOI: 10.1145/2661334.2661366

Rosenblum, P. & Herzberg, T. (2015). Braille and Tactile Graphics: Youths with VisualImpairments Share Their Experiences. Journal of Visual Impairment & Blindness (JVIB), May-June, 109(3). [Online]. Available : http://www.pathstoliteracy.org/research/youth-share-their-experience s-research-study-braille-and-tactile-graphics (2559, พฤษภาคม 8).

Sartorio, A. (2010). Touch and learn. [Online]. Available : http://www.domus web.it/en/design/2010/04/27/aurelio-sartorio-touch-and-l