แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

วารุต มาลาแวจันทร์
วราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พร

บทคัดย่อ

                การวิจัยเรื่อง แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลางจังหวัดภูเก็ต อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 386 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล กำนันและผู้ใหญ่บ้านตำบลเชิงทะเล จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดรองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

  2. ปัญหาอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล ได้แก่ 1) ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกจากการให้บริการ เช่น การให้บริการจากเจ้าหน้าที่รถฉุกเฉิน ความล่าช้าและการติดต่อเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ 2) ประชาชนได้รับความเดือดร้อนด้านสาธารณูปโภคต่างๆเช่น น้ำประปาไม่ไหล ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างข้างทาง น้ำเน่าเสียในชุมชน ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ระบบเสียงตามสายไม่ติด ฯลฯ 3) ผู้บริหารไม่เข้ามาแก้ไขปัญหาตามที่เสนอและไม่ให้ความสำคัญกับประชาชน 4) ประชาชนไม่ทราบข้อมูลข่าวสาร และ
    การประชาสัมพันธ์ให้เข้ามามีส่วนร่วมน้อยไม่ทั่วถึง 5) องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล ไม่เปิดโอกาสให้เข้าร่วม ประชาชนเข้าร่วมน้อย มีเฉพาะกลุ่ม

  3. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีแนวทางดังนี้ 1) ด้านระเบียบกฎหมาย ส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้ระเบียบกฎหมายและเข้าใจบทบาทหน้าที่2) ด้านประชาธิปไตย โดยสร้างจิตสำนึกจากพื้นฐานประชาธิปไตย และปลูกฝังประชาธิปไตยตั้งแต่ระดับครัวเรือนให้กับประชาชน 3) ด้านการตอบสนองปัญหาและความต้องการโดยการตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาของประชาชนให้รวดเร็วและตรงจุดมีความความจริงใจในการแก้ไขปัญหา 4) ด้านการประชาสัมพันธ์ ปรับปรุงวิธีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร และการประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวางขึ้น 5) ด้านแรงจูงใจ สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยการสนับสนุนการจัดงานหรือกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง 6) ด้านการสร้างความเป็นเจ้าของ โดยกระตุ้นจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ และสร้างพฤติกรรมความต้องการจากการตระหนักถึงปัญหาร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัส สุวรรณมาลา. (2546). การมีส่วนร่วมของพลเมืองในการปกครองท้องถิ่น. รัฐสภาสาร. 51(2) : 18.

จารุนันท์ อินวาท. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. ปริญญานิพนธ์ รป.ม. (บริหารรัฐกิจ).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จารุวรรณ ชาวศรีทอง และนรินยา สุภาพพูล. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม : รูปแบบ ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในอนาคต. นนทบุรี : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2539). ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วม. เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ในองค์กร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ถวิลวดี บุรีกุล.(2552). พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน : จากอดีต จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : เอ.พ. กราฟิก ดีไซน์และการพิมพ์.

สมศักดิ์ น้อยนคร. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์ วิทยานิพนธ์ รปม. (การบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท) อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

สุภชัย ตรีทศ. (2547). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนต่อการวางแผนพัฒนาเทศบาลเมืองชลบุรี. ปริญญานิพนธ์ รป.ม. (นโยบายสาธารณะ) ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2550) แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม.

อุดม ทุมโฆสิต. การปกครองท้องถิ่น สมัยใหม่:บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว.กรุงเทพ : แซทโฟร์ พริ้นติ้ง.

อนันต์ อนันตกูล. (2551). การคลังท้องถิ่นและการกระจายอำนาจการคลังในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรทัย ก๊กผล. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชน : คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

อรทัย ก๊กผล และฉัตรระวี กิติโยดม. (2555). เอกสารเพื่อประกอบการพิจารณากฎหมายของสมาชิกรัฐสภา บทวิเคราะห์ ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

Best, J. W. & James V. K. (1981). Research in Education. Englewood cliffs New Jersey : Prentice Hall Inc.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York : Harper & Row. pp. 202-204.

Likert, Rensis. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes, Archives.of. Psychology 140 : pp.1-55.