การจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยว ของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ร้อยตำรวจเอก ปุริมพัฒน์ ธนาพันธ์สิริ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยวของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยวของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และเพื่อแสวงหารูปแบบการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยวของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ผู้วิจัยได้กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (QualitativeoResearch) ซึ่งมีวิธีการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คนและ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 คน โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็น เพื่อยืนยันรูปแบบการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยวของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตที่สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินงานการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยวของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน มีการบริหารจัดการกลยุทธ์ที่เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก การรับนโยบายจากส่วนกลางการจัดแบ่งอำนาจหน้าที่ การวางแผนอัตรากำลังพล และการประสานสัมพันธ์แบบมีเครือข่าย ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ ด้านความชำนาญในภาษาที่หลากหลาย และทักษะในการเจรจาสื่อสาร ด้านระบบและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ด้านการประสานงานระหว่างองค์กร ด้านการบริหารจัดการและอำนาจในการสอบสวน ด้านการยอมรับและให้ความร่วมมือจากนักท่องเที่ยว ด้านอัตรากำลังพล และ ด้านงบประมาณ สวัสดิการ ส่วนข้อเสนอแนะในการจัดการความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยวของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ การสร้างความร่วมมือจากหลายๆ องค์กร เพิ่มความเข้มงวดในการสแกนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศ ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้เป็นการขนส่งแบบมืออาชีพ การบังคับใช้กฎหมายแบบเต็มรูปแบบ และการจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมในด้านต่างๆ รูปแบบการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยว 7S’s Model ประกอบด้วย S ตัวที่ 1 แทนคำว่า Strategy หมายถึง การกำหนดกลยุทธ์เชิงรุก S ตัวที่ 2 แทนคำว่า System หมายถึง การพัฒนาระบบการทำงานให้ทันสมัยด้วยเทคโนโลยี S ตัวที่ 3 แทนคำว่า Staff หมายถึง การสร้างตำรวจท่องเที่ยวให้เป็นตำรวจมืออาชีพ S ตัวที่ 4 แทนคำว่า Safety Standard หมายถึง การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยสู่สากล S ตัวที่ 5 แทนคำว่า Synergy หมายถึง ความร่วมมือร่วมใจทั้งภายในและภายนอกองค์กร S ตัวที่ 6 แทนคำว่า Service Mind หมายถึง การให้บริการด้วยหัวใจ S ตัวที่ 7 แทนคำว่า Satisfaction หมายถึง การสร้างความพึงพอใจในการให้บริการกับนักท่องเที่ยวสู่ความเป็นเลิศด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. (2552). เครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมที่กระทำต่อนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ชูสวัสดิ์ จันทร์โรจนกิจ. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ เขตความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง. ภาคนิพนธ์มหาบัณฑิต หลักสูตรศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์ คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ตำรวจท่องเที่ยว, กองบังคับการ. (2550). ประสิทธิผลของแผนปฏิบัติราชการ : การรักษาความปลอดภัยและให้บริการแก่นักท่องเที่ยวประจำปี พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ.

ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และศุภพงษ์ ปิ่นเวหา. (2549). ความพึงพอใจ ความเชื่อมั่นด้านการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและความสามารถที่พึงประสงค์ของตำรวจท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว.

พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ และพสุ เดชะรินทร์. (2546). การจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาดไทย, กระทรวง. (2554). การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดอันดามัน. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : www.osmsouth-w.moi.go.th/file-data/789554.doc. [2555, ตุลาคม 4].

วุฒิ ลิปตพัลลภ. (2551). Using Responsive Evaluation to Change Thai Tourist Police Volunteer Programs. A dissertation for the Degree of Doctor of Education, Faculty of Arts, Education and Human Development, Victoria University, Melbourne, Australia.
สถิติแห่งชาติ, สำนักงาน. (2554). การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.nso.go.th/index1.html. [2554, ธันวาคม 6].

สุเทพ เชาวลิต. (2555). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques 3rd ed. New York : John Wiley and Sons Inc.

Colaizzi, P. F. (1978). Psychological Research as a Phenomenologist Views It. In R. S. Valle & M. King (Eds.). Existential Phenomenological Alternatives for Psychology. New York : Oxford University Press.

Denzin, N. K. (1970). Sociological Methods: A source Book. Chicago : Aldine.

John M. Knox. (2004). Effects of Tourism on Rates of Serious Crime in Hawai`i. Hawai`I : John M. Knox & Associates, Inc.