ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

สัมเริง โภชนาธาร
เสาวคนธ์ สุดสวาสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต (2) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบกับการสัมมนากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 25 คน และจัดสัมมนา จำนวน 117 คน ซึ่งประกอบด้วย (1) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ปลัด รองปลัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) ผู้บริหารกองการศึกษาผู้บริหารสำนักการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา (5) ผู้ทรงคุณวุฒิ


ผลการวิจัยพบว่า


1. ศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย 5ปัจจัย คือ เป็นชุมชนเมือง (2) มีฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมั่นคงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง (3) ศักยภาพของประชากรมีสูง ส่วนใหญ่มีรายได้ดี มีการศึกษาหลายระดับ หลายอาชีพ หลายชนชาติ (4) มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย (5) มีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ทั้งระบบสาธารณูปโภคการคมนาคม ระบบการสื่อสาร โทรคมนาคม อินเตอร์เน็ตระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ


2. ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต  ใช้ยุทธศาสตร์ CLAMP ประกอบด้วย C หมายถึง Classification Education Strategy คือ การจำแนกระดับการศึกษา L หมายถึง Leadership Strategy คือ ภาวะผู้นำ  A หมายถึง  Administration Education Strategy คือ ยุทธศาสตร์การบริหารการศึกษา M หมายถึง  Management Instruction Strategy คือ การจัดการเรียนการสอน และ P หมายถึง Participate Strategy คือ การมีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สัมเริง โภชนาธาร, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดภูเก็ต, (2553). จำนวนโรงเรียนครูแยกตามรายอำเภอ.

มาโนช จันทร์แจ่ม. (ม.ป.ป.). การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ. [Online].Available:http//www.slideshare. net/rbsupervision/ss-16394995.