ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการชายหาดสาธารณะเมืองท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดอันดามัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการชายหาดสาธารณะเมืองท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน 2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการบริหารจัดการชายหาดสาธารณะเมืองท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามันในปัจจุบัน 3) และเพื่อแสวงหายุทธศาสตร์การบริหารจัดการชายหาดสาธารณะเมืองท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน โดยใช้วิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน ใน 3 จังหวัด คือ กระบี่ พังงา และภูเก็ต นำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ได้เป็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการชายหาดเมืองท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน แล้วนำยุทธศาสตร์มาจัดสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปของชายหาดสาธารณะเมืองท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน พบว่าชายหาดสาธารณะในจังหวัดกระบี่ มีความเป็นธรรมชาติสูง สะอาด ไม่ค่อย มีปัญหา การบุกรุกพื้นที่ชายหาดสาธารณะเพื่อประกอบอาชีพของผู้ประกอบการ ส่วนชายหาด สาธารณะจังหวัดภูเก็ตและพังงา มีปัญหาการบุกรุกชายหาดสาธารณะเพื่อตั้งเตียง ร่ม เพื่อทำการค้า ส่วนทุกจังหวัดมีปัญหา คือ ขยะ น้ำเสีย และสาธารณูปโภค ไม่เพียงพอในการบริการในช่วงฤดูการท่องเที่ยว และปัญหาชายฝั่ง ชายหาดถูกกัดเซาะจากกระแสน้ำและคลื่นทะเล
2. สภาพการบริหารจัดการชายหาดสาธารณะเมืองท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน พบว่า จังหวัดกระบี่มีการบริหารจัดการในระดับดี เนื่องจากมีนโยบายและแผนงาน รวมถึงการกำหนดงบประมาณที่ชัดเจน ส่วนจังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต มีการบริหารจัดการในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ เนื่องจากขาดการวางนโยบายและการวางแผนงานที่ชัดเจน รวมถึงการกำหนดบทบาท อำนาจ และหน้าที่มีความซ้ำซ้อน มีการบุกรุกพื้นที่ชายหาดสาธารณะในวงกว้าง และปัญหากลุ่มผู้มีอำนาจมีอิทธิพล ในท้องถิ่นหาประโยชน์จากชายหาดสาธารณะ ศูนย์บริการและการจัดการดูแลความปลอดภัยด้านชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทั้งนี้ หลังจากมีการทำรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน และได้กำหนดนโยบายการคืนทรัพยากรธรรมชาติให้กับประชาชน ทำให้พื้นที่ชายหาดสาธารณะในจังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ตได้ธรรมชาติที่สวยงามกลับคืนมาอีกครั้ง
3. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการชายหาดสาธารณะเมืองท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การปฏิรูปและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ 2) ยุทธศาสตร์นโยบายและการวางแผนงาน 3) ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์กลางการบริหารจัดการชายหาดสาธารณะเมืองท่องเที่ยวเฉพาะแต่ละท้องถิ่น 4) ยุทธศาสตร์การงบประมาณ 5) ยุทธศาสตร์ภาครัฐเป็นแกนนำในการจัด ระบบเครือข่ายความร่วมมือ 6) ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับประชาชน และ 7) ยุทธศาสตร์การประสานงานระหว่างหน่วยงาน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
_________. (2556). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
เกตุวดี ขอเจริญ. (2553). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวชายหาดในยาง จังหวัดภูเก็ต. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงาน. (2551). คู่มือเทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ เวอร์ชั่น 1.0. รายงานโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
คนึงภรณ์ วงเวียน. (2554). การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ธัญพร พงษ์ประยูร. (2548). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาดในจังหวัดภูเก็ตเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา หาดป่าตอง หาดกะตะ หาดกะรน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ บริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เทศบาลตำบลนาจอมเทียน, สภา. (2555). นโยบายการบริหารเทศบาลตำบลนาจอมเทียนของผู้บริหารเทศบาลตำบลนาจอมเทียน. [Online]. Available : www.tessabannajomtien.go.th/upload/vision.doc. [2557, มีนาคม10].
บริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน, สำนัก. (2553). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง) พ.ศ.2553 - 2556. ภูเก็ต : สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน.
พัชราพร ทวยสงฆ์. (2552). การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ. [Online]. Available : http://portal.in.th/inno-pat/ pages/1141/. [2556, กันยายน 22].
ไมตรี อินทุสุต. (2557). ประกาศจังหวัดภูเก็ต ฉบับที่ 1 - 3. ภูเก็ต : กลุ่มงานการปกครอง ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต.
ราชกิจจานุเบกษา. (2535). พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ : นามมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
สุเทพ เชาวลิต. (2555). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
อุษาวดี พูลพิพัฒน์. (2545). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนในประเทศไทย. จุลสารการท่องเที่ยว. 21(4) : 38 - 53.
Allyson L. D. (2011). Beaches and Sand Dunned in Grand Beach Provincial Park, Manitoba : Development of Management Guidelines to Ensure Long – term Ecological Sustainability. Thesis Graduate Studies University of Manitoba.
Arren, M. A. (2010). Acceptability, Conflict and Support for Coastal Resource Management Policies in Cebu, Philippines. Thesis of Science Colorado State University.
Cooper, L. G. (2009). Bad beach management : European perspectives. ([Online]. Available : http://specialpapers.gsapubs.org/content/460/ 167.abstract. [2013, August 19].
Kim, I.H. & Lee, J.L. (2011). Beach Monitoring and Beach Management of Gangwon coast. Journal of Coastal Research. 61 : 8 - 13.