ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13

Main Article Content

เพ็ญลักษณ์ ทิมโม
อดุล นาคะโร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานวิชาการและเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 44 คน และครูผู้สอน จำนวน 318 คน จากจำนวน 44 โรงเรียน รวม 362 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นตัวแปรต้นเท่ากับ .99 ตัวแปรตาม เท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


                ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยการดำเนินงานโดยรวมของบริหารงานวิชาการโดยรวมครูและผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 มีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือด้านบรรยากาศองค์กร ด้านความเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ด้านขวัญและกำลังใจในการทำงานของครู ด้านภาวะ ผู้นำของผู้บริหาร ตามลำดับ 2) การปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 โดยรวมครูและผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยจากสูงสุดคือด้านการแนะแนวการศึกษา รองลงมา คือ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และน้อยที่สุด คือ สนับสนุน งานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 3) ปัจจัยการดำเนินงาน 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ คือภาวะผู้นำของผู้บริหารส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถทำนายการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 ได้ร้อยละ  7.2

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เพ็ญลักษณ์ ทิมโม, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2552). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ทดสอบทางการศึกษา, สำนัก. (2555). แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมเกียรติ มาลา. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองกําแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.

เอมิกา โตฉ่ำ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.