ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลกับพฤติกรรมคนดีตามหลักสัปปุริสธรรม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

กฤต เกษตรวัฒนผล
ชิรวัฒน์ นิจเนตร
โกศล มีคุณ
สังวรณ์ งัดกระโทก

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกับพฤติกรรมคนดีตามหลักสัปปุริสธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวทำนายสำคัญของพฤติกรรมคนดีของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา 1,200 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 10 แห่ง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตัวแปรที่ศึกษาทั้งสิ้น 11 ตัวแปร ดังนี้ ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย กลุ่มลักษณะสถานการณ์ทางสังคม คือ การเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและใช้เหตุผล แบบอย่างคนดี การสนับสนุนทางสังคมต่อการเป็นคนดี วิถีชีวิตแนวศาสนา และประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัย กลุ่มจิตลักษณะเดิม คือ เหตุผลเชิงจริยธรรม ความเชื่ออำนาจในตน สุขภาพจิต ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และค่านิยมสุขนิยมภายนอกตน กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ คือ ทัศนคติที่ดีต่อการเป็นคนดี โดยมีกลุ่มลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลัง คือ เพศ ผลการเรียน สาขาวิชา ชั้นปี ความรับผิดชอบในครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว ลักษณะการพักอาศัย ระดับการศึกษาของบิดา และระดับการศึกษาของมารดา เป็นตัวแปรแบ่งกลุ่ม ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมคนดี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตรประเมินรวมค่าจำนวน 19 แบบวัดซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .70 - .82 การวิเคราะห์ข้อมูลตามสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐานและแบบเป็นขั้น ผลการวิจัยพบว่า ตัวทำนายชุดที่ 4 (ชุดรวม 11 ตัว) สามารถทำนายพฤติกรรมคนดีของนักศึกษาได้ร้อยละ 53.8 มากกว่าตัวทำนายชุดที่ 1 (ชุดตัวทำนายทางจิตลักษณะเดิม 5 ตัว) ร้อยละ 14.8 มากกว่าตัวทำนายชุดที่ 2 (ชุดตัวทำนายทางด้านสถานการณ์ 5 ตัว) ร้อยละ 6.7 มากกว่าตัวทำนายชุดที่ 3 (ชุดตัวทำนายทางจิตลักษณะตามสถานการณ์) ร้อยละ 29 โดยมีตัวทำนายที่สำคัญตามลำดับ คือ แบบอย่างคนดี ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน วิถีชีวิตแนวศาสนา ทัศนคติที่ดีต่อการเป็นคนดี และการสนับสนุนทางสังคมต่อการเป็นคนดี

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กฤต เกษตรวัฒนผล, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา

References

เกษม จันทศร. (2541). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการต้านทานการเสพยาบ้า ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โกศล มีคุณ และณรงค์ เทียมเมฆ. (2545). ผลของการฝึกให้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมจริยธรรมของครู. ทุนอุดหนุนการวิจัย โครงการแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชนานันท์ ณิยกูล. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจจะประพฤติตนตามหลักสัปปุริสธรรมของบุตรวัยรุ่นกับความประพฤติตามหลักสัปปุริสธรรมของบิดาตามการรับรู้ของบุตร. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชวนชัย เชื้อสาธุชน. (2552). ปัจจัยเชิงเหตุและผลที่เกี่ยวกับการใฝ่เรียนรู้คู่ความดีของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏ. รายงานการวิจัย. โครงการวิจัยแม่บท : การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชัยยุทธ กุลตังวัฒนา, ศุภชัย สุพรรณทอง, ทิพย์สิริ กาญจนวาสี, และแจ่มใส รัตนมาลี. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมจริยธรรมในการบริการ ของมัคคุเทศก์ไทย. รายงานการวิจัย. โครงการวิจัยแม่บท : การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน และอัมพร ม้าคะนอง. (2547). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมการพัฒนา นักเรียนของครูคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา. รายงานการวิจัย โครงการวิจัยแม่บท : การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นิภาพร โชติสุดเสน่ห์. (2545). ปัจจัยทางสังคมที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ.ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พูนฤดี สุวรรณพันธ์. (2536). ปัจจัยทางครอบครัวและโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะ ทางพุทธศาสนาของนักเรียนในชุมชนที่มีระดับพัฒนาการต่างกัน.ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

ไพรินทร์ ขัดธิพงษ์. (2553). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับความฉลาดทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เล่มที่ 116.

________. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. เล่มที่ 126.

ลินดา สุวรรณดี. (2543) . ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการลดปริมาณขยะของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่งอรุณ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

วรวรรณ อร่ามพงศ์. (2551). ตัวแปรทางจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมของสัตวแพทย์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันชัย มีกลาง. (2530). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติตามและการได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจากบิดามารดาของนิสิตระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

วิเชียร ธรรมธร. (2546). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมด้านการอุทิศตนของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ. วิทยาลัยเสนาธิการกองบัญชาการทหารสูงสุด.

สุภาสินี นุ่มเนียน. (2546). ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและจิตลักษณะที่ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดขอบต่อหน้าที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

สุริยะ พันธ์ดี. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาในโรงเรียน กับจิตลักษณะและพฤติกรรมก้าวร้าวในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หรรษา เลาหเสรีกุล. (2537). การเรียนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์กับลักษณะ ทางพุทธศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของนักเรียนวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

Endler, N.S., & Magnusson, D. (Eds). (1976). Interactional Psychology and Personality. New York : Halsted-Wiley.

Pearson, R. E. (1990). Counseling and Social Support. London : SAGE.

Wrigth, D. (1978). The Psychology of Moral Behavior. London : Penguin Books.