ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

Main Article Content

วัลยา อินทองมาก
อดุล นาคะโร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 2) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 3) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารและครูวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ จำนวน 144 โรงเรียน รวม 288 คน โดยใช้การคำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Yamane, 1973 : 727-728) กำหนดความคลาดเคลื่อน.05 และแต่ละอำเภอใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) แยกตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ซึ่งมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน อยู่ในระดับมาก 2) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน มีค่าสหสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญที่ .01  โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 54

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วัลยา อินทองมาก, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

References

ฉวีวรรณ จันทร์เม่ง. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อมาตรฐานด้านผู้เรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐกานต์ นาคนัตถ์. (2552). ปัจจัยที่สนับสนุนการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ของข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการจัดการทั่วไปบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ชัยวัฒน์ ตุ่มทอง. (2548). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปาลิกา นิธิประเสริฐ. (2547). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิยาลัยบูรพา.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2549). ภาวะผู้นำและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มูฮัมหมัดรออี มะลี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศักดา มัชปาโต. (2550). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ส่งเสริม เม่งบุตร. (2557). ประชุมคณะกรรมการดำเนินการกลั่นกรองการจัดทำมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. [Online]. Available : http://www. krabiedu.net/createpdf.php?mo=news&id=500. [2557, ตุลาคม 5].

สมเกียรติ บาลลา. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุจิตราภรณ์ สำเภาอินทร์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : บริษัทบุ๊คลิ๊ง จำกัด.

สุมณฑา ทายุโก. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อภิวัฒน์ แสงสุกวาว. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกวัฒน์ ดันงา. (2554). ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนของผู้บริหารตามทัศนะของผู้บริหารและครู โรงเรียนในเครือข่ายอำเภอธาตุพนม สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.

โอภาศ วุฒิศลา. (2550). การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาสตร มหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row.