ความต้องการของประชาชนในการจัดตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรงตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลของประชาชนในการจัดตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มเกษตรกร จำนวน 345 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ได้คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 57.4 เพศหญิง ร้อยละ 42.6 อายุส่วนใหญ่ อยู่ระหว่าง 30 - 42 ปี ร้อยละ 65.8 จบการศึกษาส่วนใหญ่ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 71.9 สถานภาพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ร้อยละ 87.5 มีความต้องการ ให้จัดตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรง ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 100 ความต้องการลักษณะของศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา พบว่า ควรเข้าไปมีบทบาทสนับสนุนการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่ (= 4.14) จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับผึ้งสายพันธุ์ชันโรงเกิดขึ้นในตำบล (= 4.11) เทศบาลตำบลปัถวีควรสนับสนุนสถานที่ งบประมาณ และบุคลากร อย่างต่อเนื่อง ( = 4.10) และควรจัดกระบวนการฝึกอบรมโดยอาศัยฐานการเรียนรู้ในชมชนและจัดตามสภาพจริง (= 4.08)
การเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลกับความต้องการจัดตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรง พบว่า อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ แตกต่างกันมีความต้องการจัดตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)
ข้อเสนอแนะ ควรดำเนินการจัดตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรงตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยเทศบาลตำบลปัถวีต้องจัดสรรทรัพยากรดำเนินการอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง จะต้องมีเครือข่ายระหว่างส่วนราชการและภาคประชาชน ซึ่งสามารถให้บริการจัดการฝึกอบรมทั้งในและนอกสถานที่ ตลอดจนการมีฐานการเรียนรู้ในชุมชนให้สามารถเรียนรู้ได้ตามสภาพจริง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
เกียรติภูมิ จันเต. (2558). แนวทางการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาด้านการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาผึ้งสายพันธุ์ชันโรงตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 6(1) : 32 - 45.
ธัชคณิน จงจิตวิมล. (2553). ความหลากชนิดของชันโรง (Apidae, Meliponinae) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์. Narasuan University Science Journal. 7(2) : 71 - 85.
ธิติ พึงเพ็ชร. (2554). ความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของประชาชนเทศบาลตำบลโฬสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิตยา ดนตรี และคนอื่นๆ. (2557). ความคิดเห็นและความต้องการของผู้นำชุมชนและประชาชนในอำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี ที่มีต่อสถานีวิจัยลพบุรี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2557.
พระบรรพต ตยานนโท (ปิ่นสง). (2557). ความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2555). สิ่งแวดล้อมศึกษาในยุคโลกร้อน. พิษณุโลกดอทคอม.
เกษตรอำเภอมะขาม, สำนักงาน. (2558). ทะเบียนเกษตรอำเภอมะขามแยกรายตำบล. อัดสำเนา.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. (Online). Available : http://www.nesdb. go.th/ Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf [2557, มีนาคม 3].
สมนึก บุญเกิด. (2544). ผึ้ง. มติชน. กรุงเทพมหานคร.
อรัญ พงศ์ศักดิ์. (2558). สัมภาษณ์ [2558, พฤษภาคม 10]
Sakagami. S.F.; T. Inoue and S’Salmah. 1990. Stingless beed of Central Sumatra. Hokkaido University Press, Sapporo.