ตัวแบบการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Main Article Content

เทอดศักดิ์ ยอแสงรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 3 ) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตโดยใช้เทคนิควิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 คนจาก 3 กลุ่มประกอบด้วย 1) ผู้กำหนดนโยบาย 2) ผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 3) ผู้ปฏิบัติตามนโยบายและการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คนจาก 3 กลุ่มประกอบด้วย คือ 1) กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย 2) กลุ่มผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กลุ่มผู้มีส่วนร่วมได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษาและบุคคลภายนอกโดยมีส่วนร่วมจัดการเรียนการสอน เป็นคณะกรรมการศึกษา ประธานสาขาวิชาฯ กรรมการหลักสูตร กรรมการวิชาการ วิทยากรและให้บริการทางการศึกษา เข้าร่วมประชุมและทำงานเป็นระบบเครือข่ายกับโรงเรียนมีหลักสูตรพัฒนาครูประจำการ ร่วมเป็นวิทยากรและจัดกิจกรรมในชุมชน ท้องถิ่น นำนักศึกษาลงท้องถิ่นย้อนรอย สืบสานวัฒนธรรมไปตามสาระวิชา ด้านวิจัยบุคลากรมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการและทำงานวิจัย

  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตต้องการแผน ที่ชัดเจนในการพัฒนาและบริหารจัดการทางการศึกษาให้อิสระกับคณะฯ สาขาฯ ในการจัดการเรียนการสอนเพราะศาสตร์ในแต่ละสาขาวิชาไม่เหมือนกัน ประชาสัมพันธ์ด้านวิชาการให้บุคลากรทราบเพื่อให้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินร่วมรับผิดชอบและรับประโยชน์ ต้องการศึกษาค้นคว้าเป็นทีมร่วมกับนักวิจัยสร้างเครือข่ายการวิจัย ลดภาระการสอนสำหรับผู้ที่ทำวิจัยและทีมงานบริหารมหาวิทยาลัยต้องทำวิจัยด้วย  ด้านการพัฒนาบุคลากรต้องมีความเป็นกัลยาณมิตรและดูแลบุคลากรทุกภาคส่วน จัดอัตรากำลังคน เงิน งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ  ต้องการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมมากขึ้น ต้องการช่องทางมีส่วนร่วมพัฒนาระบบบริหารจัดการโดยจัดเวทีสัมมนา การเสวนา ทำประชาพิจารณ์ กล่องรับความคิดเห็นรับฟังก่อนประกาศใช้นโยบาย และประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าของงานเพื่อจะได้มีโอกาสร่วมคิดร่วมตัดสินใจและปฏิบัติ มหาวิทยาลัยต้องกระจายอำนาจการบริหารจัดการ เพื่อให้มีอิสระโปร่งใสเป็นธรรมการสรรหาผู้นำที่มีความรู้ความสามารถตรงกับภาระงาน มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทันสมัยเปิดใจรับฟังช่วยเหลือทำงานเป็นทีมมีคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารทำงานเพื่อส่วนรวม

  3. ปัญหา อุปสรรคและที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตมีบุคลากรไม่เพียงพอ มีภาระงานมาก แผนและรูปแบบการพัฒนาไม่ค่อยมีความชัดเจน ไม่ค่อยมีการนำเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้านคุณภาพชีวิตและทรัพย์สินยังมีน้อยมาก ด้านการศึกษาไม่สามารถคัดเลือกผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถได้ทั้งหมดเนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยของชุมชน บทบาทของคลินิกวิจัยไม่ชัดเจน และขาดการประชาสัมพันธ์ มีปัญหาขาดแคลนบุคลากรในแต่ละ สาขาวิชา การสร้างเครือข่ายและการทำงานเป็นทีม การจัดการระบบต่างๆ ยุ่งยากล่าช้า การจัดซื้อจัดจ้าง การปรับระบบน้ำใช้ ระบบซ่อมบำรุง การจัดการขยะ การจัดการ น้ำเสีย สนามกีฬา สถานที่จอดรถ การสูญหายของทรัพย์สินในมหาวิทยาลัย การใช้อาคารที่สร้างใหม่ของมหาวิทยาลัย ฯลฯ และไม่มีเครือข่ายที่หลากหลายรูปแบบในการสื่อสารประชาสัมพันธ์กับองค์กรภายนอก

  4. ตัวแบบการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยใช้ PHOMTHEP MODEL ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหาร จัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตใน 8 ด้านดังนี้ 1) P แทนคำว่า Participation & Collaboration การมีส่วนร่วม การร่วมมือ ร่วมใจ รวมพลัง ร่วมมือกัน 2) H แทนคำว่าHuman Resources Management & Planning & Implementation การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนและการบริหารแผนงาน  3) O  แทนคำว่า Opportunity and Channel of Participation โอกาสและช่องทางการมีส่วนร่วม ช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติให้สามารถพูดคุยเสนอแนะและอื่นๆ ได้หลายช่องทาง 4) M แทนคำว่า Management System, Fiscal Management System ระบบบริหารจัดการ ระบบบริหารจัดการการเงิน 5) T แทนคำว่า Transparency, Morality & Performance Appraisal ความโปร่งใส ศีลธรรม จรรยา และการประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย 6) H แทนคำว่า Human Relationship & Network Building and Participation การมีมนุษย์สัมพันธ์ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม 7) E แทนคำว่า Empowerment & Decentralization หมายถึง การมอบอำนาจ การกระจายอำนาจ 8) P แทนคำว่า Public Relation & Communication หมายถึง การสื่อสารการประชาสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา อินทกาญจน์. (2554). การเรียนรู้ระดับบุคคลและระดับทีมขององค์กร กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รับ รางวัลคุณภาพแห่งชีวิต. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร. คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. สำนักงาน. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพ ฯ: วิชั่น พับบลิชชิ่ง.

ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (2551). แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน. [Online].Available: http://www.thaischool.net/view_tj.php?ID= 1203. [2552, พฤศจิกายน 30].

นิเทศ ธาตุอินทร์. (2549). การบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษา เชียงใหม่ เขต 4 ในทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ประชุม สุวัติถี. (2551). การตลาดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพ.สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

พสุ เดชะรินทร์ .(2551). ชุดเครื่องมือการพัฒนาองค์การ ตาม แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธ์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย

พิธาน ฟื้นทอง. (2548). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศึกษาภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มานิต บุญประเสริฐ. (2546). รูปแบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2547). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขต พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2550). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมนึก ทองเอี่ยม. (2550). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารระดับกลางในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมยศ นาวีการ. (2548). การบริหาร. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2551). ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน : การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

สุเทพ เชาวลิต. (2552). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

สุนทรี สุวรรณภูมิ. (2549). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กรณีโรงเรียนวัดสารภีวิทยาคาร อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โสพิศ คำนวนชัย. (2556). ตัวแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม.

อเนก อัคคีเดช. (2549). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัญชนา พานิช. (2550). องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบันฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อารมย์ สนานภู่. (2549). รูปแบบการพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติ การแบบมีส่วนร่วม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Gulick, L., & Urwick, L.. (1939). Paper on the Science of Administration. New York : Institute of Public Administration, Columbia University,

Msolla, J. J. (1995). Assessing Administrative Skills and Knowledge of Teacher’ College Principals in Tanzania. Dissertation Abstracts International. Available : UMI; Dissertation.

Wilson, R. J. (2001). School-Based Management in Alberta: Perceptions of Public School Leaders 1994-1997. Dissertation Abstracts International. 62-03 A.337.