รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ตอนบน

Main Article Content

สุดารัตน์ เพชรปานวงศ์
นิตยา กันตะวงษ์
ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ตอนบน มีขั้นตอนการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบ ผู้วิจัยวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี สร้างรูปแบบแล้วสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้วยแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง จำนวน 12 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับและแบบปลายเปิดสอบถามผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 322 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล รูปแบบที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและปัจจัยด้านทักษะของผู้บริหารโรงเรียน เมื่อตรวจสอบรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ทั้ง 3 ปัจจัยข้างต้นมีอิทธิพลที่ส่งทางตรงต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ปัจจัยด้านความรู้ของผู้บริหารโรงเรียนและปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การยังช่วยให้เกิดการพัฒนาปัจจัยด้านทักษะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุดารัตน์ เพชรปานวงศ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

References

กมล ตราชู. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเทศบาล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.

กัญญ์รัชการย์ นิลวรรณ. (2553). องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษาและภาวะผู้นำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2556). การจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. [Online]. Available : http://education.kapook.com/view9208.html. [2556, มีนาคม 22]

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). สุดยอดภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย.

ขวัญใจ ขุนทำนาย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลในกลุ่มการศึกษาที่ 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

คุรุสภา, สำนักงาน. (2556). มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาที่คุรุสภา กำหนด. มติชน, หน้า 5.

จักรกฤษ วงศ์ชาลี. (2551). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

ธวัช วีระศิริวัฒน์. (2555). หน่วยการเรียนรู้ภาวะผู้นำทางวิชาการ (Academic Leadership), เอกสารประกอบการบรรยาย. [Online]. Available : 202.29.15.37/project/data_service/data/unit2.3.1. [2555, สิงหาคม 10].

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รับรองมาตรฐานและประเมินผลคุณภาพการศึกษา, สำนักงาน. (2556). ผลประเมินคุณภาพภายนอก. [Online]. Available : http://aqa.onesqa.or.th/Sum maryReport.aspx [2556, พฤศจิกายน 22].

ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวทางและนโยบายปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง. [On-line]. Available :http://www.moc.moe.go.th/Files/ Document. [2556, เมษายน 6].

สมุทร ชำนาญ. (2555). การบริหารสถานศึกษาท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. 6 (1), 3.

สิร์รานี วสุภัทร์. (2551). ภาวะผู้นำทางวิชาการและสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2543). ผู้บริหารกับการสร้างคุณภาพโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ. วารสาร วิชาการ, 3 (10) 9.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. New York : John Wiley and Sons.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, A.D. (2000). Introducing LISREL : A Guide for the Unitiated. London : Sage Publications.

Drake, T.L., & Roe, W. H. (2003). The Principalship. (6th ed.). Book Condition : Brand New.

Greenberg, J & Baron, R.A. (2008). Behavior in Organizations. London : Pearson Education, Inc.

Chell, J. (2001). Introducing Principal to the Role of Instructional Leadership : A Summary of Master’s Project. [Online]. Available : http:// www.sstr. sk.ca/research/leadership/95-14.html. [15 January 2012]