แนวทางการอนุรักษ์ดนตรีมอญ เมืองเมาะตะมะ รัฐมอญ ในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์

Main Article Content

ณัชพล หะหวัง
สุพรรณี เหลือบุญชู
กาญจนา อินทรสุนานนท์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการอนุรักษ์ดนตรีมอญ เมืองเมาะตะมะ รัฐมอญในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ลักษณะและองค์ประกอบของดนตรีมอญ เมืองเมาะตะมะ รัฐมอญ ในประเทศสาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์ 2) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ดนตรีมอญ เมืองเมาะตะมะ รัฐมอญ ในประเทศสาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ที่ได้จากการสัมภาษณ์ และการสังเกต นำมาศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์


 


ผลการวิจัยพบว่า


1. ประวัติความเป็นมา ลักษณะและองค์ประกอบของดนตรีมอญเมืองเมาะตะมะ รัฐมอญ ในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ เป็นวงดนตรีที่สมาคมศูนย์วัฒนธรรมมอญ ได้จัดก่อตั้งขึ้น ระหว่างปี ค.ศ.1990-1992 ลักษณะของดนตรีมอญแบ่งได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เครื่องดนตรีประเภทตีดำเนินทำนองที่ทำด้วยโลหะและไม้ กลุ่มที่ 2 เครื่องหนัง กลุ่มที่ 3 เครื่องลม กลุ่มที่ 4 เครื่องสาย กลุ่มที่ 5 เครื่องเคาะ เพลงมอญแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ เพลงที่เกี่ยวกับเจ้า กลุ่มที่ 2 เพลงที่เกี่ยวกับศาสนา กลุ่มที่ 3 เพลงที่เกี่ยวกับความรัก กลุ่มที่ 4 เพลงที่เกี่ยวกับความเชื่อ และกลุ่มที่ 5 เพลงทั่วไปๆ ไม่เจาะจง โอกาสที่นำไปใช้สามารถนำไปบรรเลงเพื่อความสนุกสนาน ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง งานเฉลิมฉลองในทุกโอกาส งานมงคลและงานอวมงคล องค์ประกอบดนตรีมอญประกอบด้วย 1) ทำนองของที่เพลงบรรเลงจะมีเสียงสูงต่ำสั้นยาวสลับกันตามเทคนิคของการบรรเลง 2) จังหวะจะเป็นตัวกำหนดความช้าเร็วของบทเพลง 3) เสียงของดนตรีจะมีการเปลี่ยนระดับเสียงของบทเพลงอยู่ตลอด แต่เมื่อบรรเลงเพลงใดผู้บรรเลงจะต้องรู้ว่าเพลงนั้นบันไดเพลงใด 4) รูปแบบโครงสร้างของบทเพลงจะมีการแบ่งเป็นท่อน เป็นวรรค และประโยคของบทเพลง ตามลักษณะของเพลงที่บรรเลง


2. แนวทางการอนุรักษ์ดนตรีมอญ เมืองเมาะตะมะ รัฐมอญ ในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ ควรมีการสนับสนุน ด้านการเงิน สถานที่ ตลอดจนการจัดงาน และกิจกรรมต่างๆ ให้มีดนตรีมอญเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง เพื่อเป็นการส่งเสริม การทำนุบำรุง อนุรักษ์มรดกทางด้านดนตรี รวมถึงการเก็บรวบรวมดูแลรักษาซ่อมแซม ทั้งเครื่องดนตรี บทเพลง นักดนตรี และผู้ฟัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Douglas, Gavin Duncan. (2001). State Patronage of Burmese Tradition al Music. Doctor’s Thesis, Washington D.C. : University of Washington.

Jarernchai, Chonpairot. (2014). ADAPTATION : A Natural Treatment for the Survival of Music and Performing Arts. Mahasarakham University.

Nai Htaw Ping Ensemble. (2006). Mon Music of Buma. California : University of California Riverside.

Nicolas, Arsenio Magsino. (2007). Musical Exchange in Early Southeast Asia : The Philippines and Indonesia, ca. 100 to 1600 C.E. Doctor’s Thesis, Cornell : Cornell University.

Robert, Halliday. (2000). The Mon of Burma and Thailand. Bangkok : Bangkok White Lotus Prese.

Sarrazin, Natalie Rose. (2003). Singing in Tejaji’s Temple : Miusic and Ritual Trance HealingPerformance in Rajas Than. Doctor’s Thesis, Maryland : University of Maryland, College Park.

Saisunee Khowpum, (2000). Ram pee mon in Patumtani. Master. Fine Arts Ethnomusicology. Gradute School. Srinakharinwirnwirot university. Prasarnmit Campus.

Yang, Minkang. (2002). “A Study of the Music Traditional and its Contemporary Change of the Theravada Buddhist Festival Ritual Performance of Dai Ethnic Nationality in Yunnan,” Dissertation Abstrcats International. Doctor’s Thesis, Hong Kong : Chinese University of Hong Kong.