การพัฒนารูปแบบคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยาน ในสังกัดกรมท่าอากาศยานในภูมิภาคเขตภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการสำหรับท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยานในภูมิภาคเขตภาคใต้ และเพื่อพัฒนารูปแบบคุณภาพการให้บริการสำหรับท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน ในภูมิภาคเขตภาคใต้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้โดยสารขาเข้า – ขาออก ภายในประเทศของท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน ในภูมิภาคเขตภาคใต้ จำนวน 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ท่าอากาศยานกระบี่ และท่าอากาศยานตรัง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบ แบบเน้นองค์ประกอบหลัก และหมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารท่าอากาศยานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านธุรกิจการบิน ของท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน ในภูมิภาคเขตภาคใต้ จำนวน 5 คน โดยใช้วิธี Snow ball วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้คุณภาพการบริการ อยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือ ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพ (Tangibles) ส่วนรูปแบบคุณภาพการให้บริการสำหรับท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน ในภูมิภาคเขตภาคใต้ ประกอบด้วย 1) ผู้ให้บริการมืออาชีพ 2) การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3) การใส่ใจในการบริการ 4) การถึงพร้อมด้วยเครื่องมือบริการ และ 5) การตอบสนองบริการที่เป็นเลิศ แนวทางพัฒนารูปแบบคุณภาพการบริการสำหรับท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน ในภูมิภาคเขตภาคใต้ 1) ผู้ให้บริการมืออาชีพ ต้องมีความพร้อม ความกระตือรือร้น ความเต็มใจในการให้บริการและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างเท่าเทียมกัน 2) ต้องบริหารจัดการให้เกิดความสะดวกและจัดการปัญหาต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3) ต้องมีความใส่ใจต่อผู้ใช้บริการด้วยหลักการบริการที่เป็นสากล มุ่งถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ 4) ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ให้บริการที่ทันสมัยและเพียงพอต่อการให้บริการ และ 5) ต้องมีการปฏิบัติ ปรับปรุง และพัฒนา การให้บริการอย่างมีมาตรฐาน สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Department of Airport. (2018). Transport Statistics. Bangkok: Department of Airport. [in Thai]
Fruin. (1971). Pedestrian Planning and Design. New York: Maudep.
Kannaphat Kankaew. (2015). Suvarnabhumi Airport’s Service Quality from the Passengers’ Perspective. SDU Research Journal, 11(3), 83-96. [in Thai]
Pisit Piphatphokakul. (2007). Customer Service Excellence. Bangkok: Se-Education. [in Thai]
Sethakan Anuwatwong. (2016). Thailand 4.0. Retrieved January 12th, 2018, from http:// www.Thailand industry.com/indust_newweb/onlinemag_preview.php?cid=857] [in Thai]
ThaiQuote. (2561). Thailand 4.0. Retrieved January 22nd, 2018, from https://www.thaiquote. org/content/207583 [in Thai]