การสร้างความเสมอภาคโดยกฎหมายภายใต้ความหมิ่นเหม่ ที่อาจขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
รัฐ มีหน้าที่และปกป้องคุ้มครองสิทธิพลเมืองภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจ หากมองจากมุมของการกระทำ รัฐย่อมมีอำนาจหรือมีสิทธิที่จะกระทำ แต่หากมองจากมุมในผลของการกระทำ รัฐก็มีหน้าที่จะต้องปกป้องและคุ้มครองในผลกระทบจากการใช้อำนาจรัฐเช่นกัน ดังนั้นในการกระทำของรัฐตามอำนาจหน้าที่หรือการปกป้องคุ้มครองผลการกระทำก็ดี รัฐจะต้องกระทำด้วยความเสมอภาค เพื่อให้เกิดดุลยภาพของความยุติธรรมจากการบังคับใช้กฎหมาย หลายต่อหลายคดีที่ผ่านมาศาลไม่สามารถพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้ เพราะเหตุแห่งการหลบหนี แต่ในขณะที่จำเลยที่ไม่สามารถหลบหนีได้ก็ต้องตั้งหน้ารับโทษจากฐานความผิดดังกล่าว หากมองในหลักการของสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล ก็มองได้ว่าเป็นไปตามกลไกกฎหมายของรัฐที่กำหนดไว้เช่นนั้น แต่ภายหลังจากกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 ให้อำนาจศาลพิจารณาและพิพากษาคดีลับหลังจำเลยได้ แต่บทกฎหมายดังกล่าวอาจจะมองว่าหมิ่นเหม่ขัดต่อหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีได้ แต่ถือได้ว่าเป็นการทลายกำแพงแห่งความเหลื่อมล้ำของการบังคับใช้กฎหมายด้วยความเสมอภาคจากสถานะของบุคคล จึงถือว่ากฎหมายไทยได้รุกคืบหลักความเสมอภาคของกฎหมายภายใต้หลักการนิติธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดไว้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Sawangsak, C. (2015). Kḍh̄māy mh̄āchn : Wiwạtʹhnākār k̄hxng kḍh̄māy mh̄āchn nı t̀āng pratheṣ̄ læa
nı pratheṣ̄ [Public LawThe Evolution of Public and International Law] 4th Edition
Sawangsak, C. (2018). Xeks̄ār kār prakxb khorngkār xbrm h̄lạks̄ūtr kḍh̄māy pkkhrxng læa wiṭhī phicārṇā khdī pkkhrxng thī̀ k.Ṣ̄p. Rạbrxng, h̄lạk nitiṭhrrm” læa “h̄lạk niti rạṭ̄h”: Khwām k̄hêācı thī̀ mị̀ trngkạn læa p̄hl thī̀ mī t̀x xngkh̒kr tulākār [Documents for the Administrative Law Training Program and the Judicial Procedure governing the SEC, the rule of law" and "The rule of law : Unmatched understanding and effect on judicial bodies, Faculty of Law: Prince of Songkla University.
Supap, J. (1994). H̄lạk rạṭ̄hṣ̄ās̄tr̒ c̄hbạb phụ̄̂nṭ̄hān [Principles of Political Science] 3rd edition, Bangkok: Thai
Wattana Panich, Watthanarung, P. ChinBenjapuch, K. (2000). Xeks̄ār prakxb khả brryāy prạchỵā læa kḍh̄māy mh̄āchn Handout Philosophy and Public Law (Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.
Wissanu Kreangam, (1987). Kḍh̄māy rạṭ̄hṭhrrmnūỵ [Constitutional Law] 3rd edition, Bangkok : Niti Tribute.
Wongkomolchet, D. (1995). H̄lạk rạṭ̄hṣ̄ās̄tr̒ [Political Science]. 9 th edition, Bangkok : Aksorn Chareonat.
Wongthongsan, J. Pinitchan, M. Sirisomboonwet, S. (year not printed year), Krabwn wichā kḍh̄māy thale [handouts Sea Law Course] Bangkok: Rajamhaeng Publishing House.
Uwanno. B. (2001). Kḍh̄māy mh̄āchn [Public Law]. Volume 1, 4th edition. Bangkok: Rule of Law Bangkok: Winning publisher.
Constitution of the Kingdom of Thailand 2017 editions, the Government Gazette, edition of Kru Dika No. 134 (part 40a) Page 1-90
Organic Act on Trial of Persons Holding Political Positions 2017 Government Gazette Gazette, The Supreme Dissertation, Book 134 (Chapter 99a), pages 1-21
The Code of Criminal Procedure Decree No. 2477 Government Gazette Vol 52 (-) page 598 -712
Royal Institute Dictionary In honor of His Majesty the King. Bangkok: Royal Institute, 2011. (On the occasion of the auspicious ceremonies. 7 rounds, 5 December 2011