รูปแบบการสื่อสารการตลาดบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการสื่อสารทางการตลาดของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ประกอบการของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ประกอบการของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุ 25 ปี - 35 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี อยู่ในตำแหน่งพนักงาน มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ 5-10 ปี คิดเป็นประเภทของการจำหน่ายรถยนต์ เป็นประเภทรถยนต์นั่ง โดยมีผลประกอบการเฉลี่ยในการดำเนินธุรกิจ 20-50 ล้านบาท มีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจ 5-10 ปี และทำเลที่ตั้งของธุรกิจอยู่ใจกลางเมือง โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาภาพรวมเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารการตลาดบูรณาการ และด้านกลยุทธ์การตลาด 5A’s มีค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ พบว่า ประกอบไปด้วย 2 ด้าน 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบด้านการสื่อสารการตลาดบูรณาการ มีจำนวน 5 องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบด้านกลยุทธ์การตลาด 5A’s มีจำนวน 3 องค์ประกอบหลัก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Arens, W. F. (2002). Contemporary advertising. Boston: McGraw-Hill/Irwin.
Belch, G.E. and Belch, M.A. (1998) Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. 4th ed. Boston: McGraw-Hill.
Belch, G.E., & Belch, M.A. (2001). Advertising and promotion: An integrated marketing communications
perspective. New York: McGraw Hill.
Broderick, A., & Pickton, D. (2005). Integrated marketing communications. UK: Pearson Education.
Chaengchenkit, C. (2002). IMC & marketing communication. Tipping Point Solution
Chongstitvatana, P. (1999). Marketing Management.Thammasat University
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control. 9th Ed. New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P., Kartajaya, H., and Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0-Moving from Traditional to Digital. Hoboken, NJ: John Wiley and Sons.
Luo, M., & Parncharoen, C. (2019). The effect of digital integrated marketing communication on Sichuan consumers’ decision to use WeChat application.
Reanmanee, P. (2016) Digital integrated marketing communication to affecting the service boxing in Bangkok. Master’s thesis. Bangkok University
Robbins, S. P. 1994. Management. 6th ed. USA: Prentice-Hall.
Satjapitak, P. (2017). The influence of integrated marketing communication and website credibility toward customer’s trust in the e-marketplace of the OTOP product (Master’s thesis). Silpakorn University, Bangkok.
Sereerat, S.et al. (1998). Business Research.Diamond in Business World.
Sereerat, S.et al. (2009). Marketing management. Diamond in Business World.
Silpcharu, T (2010). Research and statistical analysis with SPSS.
Silpcharu, T (2012). Statistical research and analysis with SPSS and AMOS.
SPSS Incorporation. IBM SPSS Base 22.0 Applications Guide. Chicago, 2013.
Theerasorn, S. (2009). Marketing communication. V. PRINT
Thongkhao, T. (2021). Digital Integrated Marketing Communication Process of Decision MakingRag Craft Group Ban Baukpao Chiang Mai Province (Independent Study,Maejo University).
Torthienchai, N. (2021). Integrated Marketing Communication Strategies and Confidence
Affecting Participants Willingness to Attend Online Events inBangkok (Independent Studies,University of the Thai Chamber of Commerce).
Wongwatthana, C. (2010). Techniques for using statistics for research. ExpernetBooks
Wuttisakdusakun, A. (2015). Digital Marketing Communication and Customers Decision Making on Online Messenger in Bangkok District (Independent Studies - Master,Bangkok University).
Xiang, B. (2012). Growing WeChat Marketing. Advertisers, 10, 34-35.
Yang, B. (2016). Research on Digital Integrated Marketing Model. Shanxi Youth.